หนังไม่ค่อยดีที่ชอบดู

มีหนังหลายเรื่องที่คำวิจารณ์ไม่ได้โดดเด่นอะไรแต่ก็ดูได้ไม่เบื่อ (ผมยึด Rotten Tomatoes เป็นหลัก เกณฑ์ "ไม่ค่อยดี" นี้คือได้คะแนนไม่ถึง 70%) นึกเล่น ๆ ก็มีอยู่หลายเรื่อง

  • Equilibrium
  • Ronin
  • Constantine
  • Enemy at the Gates

ทวิตธรรมนำทวิตเตอร์

ตัดตอนจากคำปรารภหนังสือ "ทวิตธรรมนำทวิตเตอร์" โดยทั่น ว. วชิรเมธี ตัวหนาตามโน้ตในเฟซบุคทั่น ว.

New Media หรือสื่อใหม่เกิดขึ้นทุกวัน
โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทุกวัน ทุกครึ่งวัน ทุกชั่วโมง หรือทุกนาที โลกเปลี่ยนเร็วเสียจนกระทั่งว่า แม้เราไม่อยาก เปลี่ยนแปลงตัวเองและวิถีชีวิตไปตามโลก แต่ทว่าก็จะถูกบีบให้ ต้องเปลี่ยนตามโดยอัตโนมัติเพราะเครื่องไม้เครื่องมือและ เทคโนโลยีต่างๆ ที่แวดล้อมเราอยู่ ถูกพัฒนาให้รุดไปข้างหน้า ตลอดเวลา
อยากจะตั้งเป็นข้อสังเกตว่า
โลกเปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่ทันที เมื่อสตีฟ จ๊อปส์ ออก นวัตกรรมใหม่มาให้ชาวโลกใช้
ทวิตเตอร์ เป็นสื่อใหม่ของวันนี้ ที่มีผู้ใช้แพร่หลายไปทั่วโลก ข้อดีของทวิตเตอร์ก็คือ ความสดใหม่ ความเร็ว ความง่าย แต่ข้อจำกัดก็คือ ใช้ส่งข้อความได้อย่างจำกัดเพียง ๑๔๐ ตัวอักษร

ผมคงจะเป็นคนของยุคเก่า ตั้งแต่เกิดมานี่ไม่เคยครอบครองผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลเลยสักชิ้น ไอแพดอะไรนี่ไม่เคยแตะ เคยแต่จับ ๆ ไอโฟน แมคบุค ของเพื่อนแบบนับนาทีได้

โลกยุคใหม่ที่ทั่น ว. ว่าไว้ คงจะเป็นโลกที่คนซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องละสองหมื่นกว่าบาทได้โดยไม่ต้องคิดอะไรมาก โลกยุคเก่าที่ผมติดอยู่นี่ (อยากเปลี่ยนยุค/ลุค นะ แต่ไม่มีเงิน) สตีฟ จ๊อบส์ (ชื่อเขาสะกดด้วยตัว b นะทั่น บ ใบไม้น่าจะใกล้เคียงกว่า) ไม่ได้ออกนวัตกรรมใหม่มาให้ใช้ แต่แม่ง เอ้ย เขาผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ราคาแพงหูฉี่มาขาย (เว้ย) ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเปลี่ยนอะไรไปบ้างไหมนอกจากราคาหุ้นของบริษัทตัวเอง

ว่าแต่จากเรื่อง New Media (ในบริบทแปลก ๆ) แล้วกระโดดมาแอปเปิ้ล แล้วกระโดดไปทวิตเตอร์ในไม่กี่ย่อหน้าเนี่ย ต้องกราบคารวะจริง ๆ

ก็ไปโหลดหนังสือมาชาบูกันได้ตามสะดวก

mobile web server

เวลาเราเช่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ เราจ่ายเงินให้กับอะไรบ้าง คร่าว ๆ ก็น่าจะเป็น

  • สถานะ "ออนไลน์" หรือเปิดอยู่และเข้าถึงผ่านอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลาของเครื่องคอมพิวเตอร์
  • ตัวเซิร์ฟเวอร์ หรือซอฟต์แวร์ที่คอยรับ-ส่งข้อมูลและประมวลผลตามซอฟต์แวร์ที่เราเขียนใส่เข้าไป
  • พื้นที่เก็บไฟล์
  • บริการเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เช่น การสำรองข้อมูลอัตโนมัติ บันทึกการเข้าใช้งาน

ถ้าเอาเฉพาะที่ใช้งานจริง ๆ ก็จะพบว่าคุณสมบัติเกือบทั้งหมดนั้นมีอยู่ในโทรศัพท์มือถือของเรานี่เอง เปิด/ต่อเน็ตได้เกือบตลอดเวลา เก็บไฟล์ได้ ตัวเซิร์ฟเวอร์ก็ไม่น่าจะดัดแปลงยากนักให้มาลงโทรศัพท์ได้ ความสามารถในการประมวลผลก็น่าจะสูงกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ยุคแรก ๆ แล้วด้วยซ้ำ แค่เว็บเล็ก ๆ ง่าย ๆ คนเข้าไม่มากก็คงไม่ลำบากนัก

ที่ยังไม่แน่ใจ/หาอ่านไม่เจอก็มีแค่ว่าจะทำยังไงให้เราเข้าถึงตัวเซิร์ฟเวอร์จากอินเทอร์เน็ตทั่ว ๆ ไปได้ ถ้าต่อเน็ตผ่านไวไฟก็คงใช้พวก dynamic dns ได้ แต่ถ้าต่อผ่าน EDGE หรือ 3G นี่ยังไม่รู้

ถ้าทำได้ครบแล้ว เราก็น่าจะได้เว็บเซิร์ฟเวอร์ในกระเป๋ากางเกง ง่ายต่อการซุกซ่อน ไม่ทิ้งร่องรอยมาก ยากต่อการยึดครอง

ภาษาอังกฤษวันละคำ: irony

ตัดตอนจากบทความ "เราได้อะไรจากเรื่อง 'ฟิล์ม-แอนนี่'" หนังสือพิมพ์มติชน 1 ตุลาคม 2553 ตัวหนาโดยผมเอง

ด้าน พระมหาวุฒิชัย หรือท่าน "ว. วชิรเมธี" ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย บอกว่าสังคมไทยควรเรียนในกรณีนี้ 4 เรื่อง

  1. การวางตนของบุคคลสาธารณะ ซึ่งถูกคาดหวัง "มาตรฐานทางจริยธรรม" ที่สูงกว่าบุคคลทั่วไป ดังนั้น จึงควรใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอ อย่าทำลายชื่อเสียงของตนด้วยการเขียนด้วยมือแล้วลบด้วยเท้า
  2. การมีความสัมพันธ์ ระหว่างชายหนุ่มหญิงสาวที่ดีนั้น ทุกความสัมพันธ์ต้องมาพร้อมกับ "ความรับผิดชอบเสมอ" เพราะหากไม่มีความรับผิดชอบ "สัมพันธภาพ" ก็จะกลายเป็น "สัมพันธพลาด" ที่นำความเสื่อมเสียมาสู่ผู้เกี่ยวข้องอย่างใหญ่หลวงเช่นที่ทุกฝ่ายกำลังเผชิญอยู่
  3. การให้อภัย เพราะแม้ทั้งสองฝ่ายจะทำในสิ่งซึ่งผิดพลาด แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เป็นปุถุชนทุกคนย่อมมีโอกาสผิดพลาดกันได้ การตกเป็นข่าวคราวนี้ทำให้ทุกคนเจ็บปวดมากพอแล้ว สังคมไทยควรหยุดซ้ำเติม แต่ควรให้อภัย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยวิจารณญาณที่รอบคอม ลึกซึ้งกว่านี้
  4. สำหรับคนที่ชอบ "แสดงความคิดเห็น" ในเรื่องของคนอื่นจนเป็นข่าวเกรียวกราว ก็ขอแนะนำว่า "ก่อนแสดงความคิดเห็นควรหาความรู้" เป็นพื้นฐานมาแล้วเป็นอย่างดี อย่ามีแต่ "ความเห็น" โดยไม่มี "ความรู้" เป็นองค์ประกอบ เพราะการแสดงความคิดเห็นอย่างมักง่าย ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเจ็บช้ำน้ำใจอย่างแสนสาหัส ทั้งยังทำให้เรื่องเล็ก ๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ หรือในบางกรณีก็ทำให้ความขัดแย้งลุกลามกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่ทำให้คนจำนวนมากต้องพลอยเดือดร้อน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: พระเจ้าตายแล้ว!

Gentle Reminder

คงจะเคยได้รับอีเมลพวก gentle reminder กันมาบ้างนะครับ

ผมรู้สึกสงสัยว่าคำว่า "gentle" ในหัวข้อ "gentle reminder" ของอีเมลเตือนเวลานัดเนี่ย มันทำหน้าที่อะไร

ถ้าเราส่งอีเมล "gentle reminder" แล้วเขียนข้อความแบบ "หกโมงเย็นที่นั่นที่นี่ อย่ามาสายนะมึง" แล้วอีเมลนี้มันจะยังเป็น gentle reminder อยู่ไหม

หรือถ้าเราส่งอีเมล "reminder" แล้วก็เขียนข้อความเตือนเวลานัดอย่างสุภาพเช่นเดียวกับที่เราจะเขียนในอีเมล "gentle reminder" ปกติแล้ว อีเมลนั้นจะยังคงความ gentle ไว้ได้อยู่หรือไม่

หรือถ้าหากเราสรุปได้ว่าสำหรับข้อความอย่างเดียวกัน การมีคำว่า "gentle" ในหัวข้อ ช่วยเพิ่มความสุภาพได้ ผมว่ามันก็ฟังดูเพี้ยน ๆ ที่คุณสมบัติของเนื้อหาอย่าง "ความสุภาพ" กลับถูกกำหนดโดยคำคำเดียวในหัวข้อ (ซึ่งก็อาจจะเป็นคนละเรื่องกับพวก ครับ/ค่ะ เพราะนั่นเป็นการเพิ่มความสุภาพด้วยการเอ่ยถึงฝ่ายตรงข้าม/เอ่ยถึงบรรดาศักดิ์)

อ้อ พิมพ์ ๆ อยู่นึกขึ้นมาได้ นึกเอาเองว่าคำว่า gentle อาจจะช่วยบอกว่าอีเมล reminder อันนี้ เป็นการเตือนถึงนัดที่ไม่กระชั้นมาก แต่กระนั้นก็ตาม ถ้าเนื้อความในอีเมลมันบอกเวลานัดอยู่แล้ว จะตั้งหัวข้อว่า "gentle reminder" หรือ "reminder" มันจะต่างกันตรงไหน

ลูกเสือไซเบอร์ พบปะแฟน ๆ

เข้าไปดูหน้าเฟซบุคของลูกเสือไซเบอร์ เพื่อติดตามข่าวกิจกรรม "ดี ๆ" ก็เจอ

cyber scout

ใครอยากร่วมกิจกรรมกับลูกเสือไซเบอร์ก็เชิญนะครับ แดรกบาร์นี่คืออะไรผมก็ไม่รู้แฮะ ดูรายละเอียดงานเอาละกัน

พระเจ้าตายแล้ว!

เซ็ง

เมื่อคืนเห็นใครไม่รู้อัปโหลดคลิปรายการชีพจรโลก ชุด Zen 2010 ตอนที่สัมภาษณ์พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ตอนที่พระทั่นบอกว่าเรอเน เดส์การ์ตส์ กล่าวว่า "พระเจ้าตายแล้ว" นั่นล่ะ ไอ้เราก็ดาวน์โหลดมา ตัดเหลือตอนประโยคนั้นพอดีจะได้ไม่ต้องเสียเวลาดูตอนต้น ๆ (เพราะการฆ่าเวลาบาปไม่น้อยกว่าการฆ่าคน) แล้วเอาใส่ยูทูบ ใส่บล็อก ถอดความเป็นข้อความ

"ประโยคนี้ไม่ใช่ของใหม่นะ เรอเน เดส์การ์ตส์ ก็เคยพูดไว้ ใช่มั้ย 'พระเจ้าตายแล้ว' [สุทธิชัย: ก็อด อิส เด๊ด!] ใช่มั้ยล่ะ เจริญพร"

เขียนอธิบาย

ไม่ใช่ครับ Friedich Nietzsche ต่างหาก ในหนังสือ Die fröhliche Wissenschaft

ใส่รูปประกอบด้วย

สุดท้ายนึกได้ว่า เอาวีดีโอเขามาตัดแล้วเผยแพร่งี้ น่าจะเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ เลยเลิก เซ็ง

นักข่าวกรุงเทพธุรกิจไม่รู้จัก บก. ลายจุด?

มีเพื่อนบอกให้ดูข่าวนี้

บก.ลายจุดเยี่ยมคนเสื้อแดงในเรือนจำอุดรฯ

กรุงเทพธุรกิจ

ก็ว่าทำไมหน้า บก. ลายจุดในข่าวนั้นไม่ค่อยคุ้น เลยลองถามกูเกิล

บก. ลายจุด

ก็คงพออนุมานได้ว่าคนเขียนข่าวไม่รู้จัก บก. ลายจุด ไม่งั้นก็ไม่รู้จักกูเกิล

หน้าเว็บในฐานะหลักฐานของอาชญากรรม

ตำรวจอาจจะเก็บเสื้อเปื้อนเลือดจากที่เกิดเหตุ ใส่ซองเก็บหลักฐาน แล้วเก็บไว้ที่กองพิสูจน์หลักฐานจนกว่าจะถึงขั้นตอนการตัดสินคดีได้ ภาระความน่าเชื่อถือของหลักฐานก็คงจะไปตกอยู่ที่การเข้าถึงห้องเก็บหลักฐาน

ตำรวจอาจจะนำฮาร์ดดิสก์ไดรว์มาทำสำเนาต่อหน้าผู้ต้องหา โดยก่อนทำสำเนาก็ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว จากนั้นก็สร้าง "ลายเซ็น" หรือ hash ของข้อมูลเก็บไว้ทั้งสองฝ่าย ภาระความน่าเชื่อถือของหลักฐานก็อยู่ที่กระบวนการทำสำเนาข้อมูลนี่เอง

แต่สำหรับข้อมูลบนหน้าเว็บเล่า ในยุคที่หลักฐานของความผิดอาจเป็นแค่ข้อความในเฟซบุค หรือความเห็นท้ายกระทู้ในเว็บบอร์ด เราจะเชื่อได้อย่างไรว่าหลักฐานที่คนอื่นอ้างไม่ได้ถูกปลอมแปลงขึ้นมาเพื่อใส่ร้ายเรา

จับภาพหน้าจอ? ข้อมูลบนหน้าเว็บที่เราเห็น ๆ กันนั้นล้วนเป็นข้อมูลที่ถูกดาวน์โหลดมาไว้ในเครื่องก่อนที่จะแสดงผลทั้งสิ้น เมื่อมันถูกดาวน์โหลดมาแล้วย่อมแปลว่าเจ้าของเครื่องจะทำอะไรก็ได้ ยิ่งเว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ ๆ มีเครื่องมือแก้ไขหน้าเว็บมาให้พร้อมก็ยิ่งง่าย ลองดูภาพหลักฐานทวีตจากอนาคตของผมนี่สิ ใช้เวลาทำนาทีเดียว

ทวีตจากอนาคต

เท่าที่ผมเข้าใจ เราอาจจะพูดได้ว่าเราไม่สามารถแน่ใจเรื่องเวลาบนอินเทอร์เน็ตได้ ถ้ากระทู้ในเว็บบอร์ดมีเพียงวันที่กำกับ เราก็ไม่มีทางทราบเวลาที่เนื้อหานั้นถูกสร้างขึ้น มิพักจะต้องกล่าวถึงว่าวันที่นั้นก็ยังต้องถูกพิสูจน์ต่อไปว่าถูกต้องจริงหรือไม่

ก็ยังคิดไม่ตก ลองอ่านกรณีศึกษาในต่างประเทศไปบ้างนิดหน่อย มีแต่คนพูดถึง Wayback Machine หรือบริการเรียกดูหน้าเว็บตามช่วงเวลาในอดีตของโครงการหอจดหมายเหตุอินเทอร์เน็ต ที่น่าเชื่อถือพอสำหรับคดีทั่วไปเพราะเป็นบุคคลที่สามที่ยากที่จะมีส่วนได้ส่วนเสีย (ทำให้ Dell ชนะคดีชื่อโดเมน dellcomputerssuck.com มาแล้ว) แต่ก็นั่นล่ะ ข้อมูลมันไม่ค่อยครบถ้วน และคนทำเว็บสามารถป้องกันไม่ให้ Wayback Machine มาเก็บข้อมูลได้ไม่ยาก

ตอนนี้กำลังอ่านพวกนี้อยู่ แต่มึนภาษากฎหมายแฮะ