รู้จักกับ Google Wave
ชาวบ้านชาวช่องเขาพูดถึงกันมาได้สักพักแล้ว ผมเพิ่งได้มีโอกาสมาทำความรู้จักกับมันอย่างจริงจังก็วันนี้
คงไม่ต้องพูดถึงอีกแล้วว่า Google Wave มันเจ๋งอย่างไร หรือถ้าใครเพิ่งจะมารู้จักมันเหมือนผม ก็ลองอ่านข่าวที่ blognoneก่อนได้ แต่ความสนใจของผมต่อ Google Wave ไม่ได้มีแค่ในฐานะผู้ใช้ แต่รวมไปถึงการพัฒนาต่อ (ซึ่งมันก็คือการใช้ไม่ใช่หรือวะ)
Google Wave นั้นทำงานอยู่บน protocol - ระเบียบวิธีในการรับส่งข้อมูล - ที่ชื่อ Google Wave Federation Protocol ที่ Google พัฒนาต่อมาจาก XMPP ซึ่งจะโค้ด (ส่วนใหญ่) ก็จะถูกเปิดออกสู่สาธารณะ และใคร ๆ ก็จะสามารถเอา Wave Protocol ไปประยุกต์ใช้งานได้
แนะนำให้อ่าน Google Wave: A Complete Guide แต่ถ้าขี้เกียจ อ่านข้างล่างนี่ก็ได้
รู้จักกับศัพท์ในวงการ Google Wave ก่อน
- Wave คือชุดของการสนทนา (รวมไปถึงเอกสารและสื่ออื่น ๆ ที่ฝังอยู่) เปรียบได้กับบันทึกการสนทนาของพวก Instant Messaging อย่าง Live Messenger หรือ Google Talk
- Wavelet ก็เป็นชุดของการสนทนาเช่นกัน แต่เป็นการสนทนาย่อย ๆ ที่อาจจะแยกวงมาจาก Wave ใหญ่อีกทีหนึ่ง
- Blip คือข้อความเดี่ยว ๆ ที่เป็นหน่วยย่อยใน Wavelet กับ Wave
- Document คือสิ่งที่อยู่ใน Blip จะเป็นข้อความหรือไฟล์อะไรก็ว่าไป
- Extension คือส่วนต่อขยายจาก Google Wave หรือโปรแกรมที่ทำงานกับ Wave แบ่งย่อยได้สองประเภทหลัก ๆ
- Robot คือระบบจัดการข้อความอัตโนมัติ อาจจะตอบข้อความได้ หรือรับคำสั่งจากเราได้
- Gadget คือโปรแกรมเล็ก ๆ ที่ทำงานบน Wave
- Embedded Wave คือการเอา Wave ไปแปะที่อื่น
พอตามอ่านแล้วพบว่าเอกสารและบทความเกี่ยวกับ Google Wave และ protocol ของมัน มีเยอะมาก ทั้งในแง่โครงสร้าง กลไก ที่กำลังอ่านอยู่คือไอเดียของ Operational Transformation ที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของ Google Wave ที่ช่วยให้คนหลายคนสามารถแก้ไขเอกสารพร้อม ๆ กันได้ แล้วยังมีแบบร่างของตัว Wave Federation Protocol อีก ไว้เข้าใจแล้วจะมาเล่า
- Read more about รู้จักกับ Google Wave
- Log in to post comments
การบรรยายสาธารณะ "Thai-Style Democracy": The Royalist Struggle for Thailand's Politics
มีข่าวประชาสัมพันธ์มาจากเมลิ่งลิสท์แห่งหนึ่งจ้ะ
โครงการหลักสูตรรัฐศาสตรดุษฏีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายสาธารณะในหัวข้อ
"Thai-Style Democracy": The Royalist Struggle for Thailand's Politics
โดย Professor Kevin Hewison, Department of Asian Studies, University of North Carolina at Chapel Hill
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2552
เวลา 08.45-12.00 น. ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ ตึก 3 ชั้น 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Henoch-Schönlein purpura
วันนี้ตอนนั่งอยู่บนรถ ก็เกิดจิตประหวัดไปถึงชีวิตวัยเด็ก
ตอนเด็ก ๆ (จำไม่ได้แล้วว่าตอนไหน น่าจะช่วงอนุบาลสามถึงประถมสอง) ผมเคยเป็นโรคอะไรสักอย่าง จำได้ติดหูว่า ฮิ-หน็อก-โช-ลาย แต่ไม่เคยรู้การสะกด เดา ๆ เอาว่าไอ้ ฮิ-หน็อก นั่นคือ hinox พอโตมาก็หาในกูเกิ้ลไม่เคยเจอ แล้วก็ลืม ๆ ไปบ้างในบางช่วง (จริง ๆ คือไม่ค่อยได้นึกถึงมันเท่าไรนัก)
กลับมาที่ฉากในรถ ไม่รู้ทำอีท่าไหน นึกไปว่า หรือโรคนี้มันจะชื่อ ฮี-หน็อก เลยกดมือถือหาคำว่า henox disease ได้เรื่องเลย กูเกิ้ลถามกลับมาว่า Did you mean: henoch disease กดตามเข้าไปดูก็โป๊ะเชะ
โรคนี้มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Henoch-Schönlein purpura (น่าจะอ่านว่า เฮโนค เชินไลน์ เพอร์พิวร่า) หรือในชื่อไทยว่าโรคหลอดเลือดอักเสบ ยังไม่มีใครพบสาเหตุแน่ชัด แต่สันนิษฐานกันว่าเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุมกันของรางกายที่ทําใหหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ และแสดงอาการทางระบบตาง ๆ เชน ผิวหนัง ทางเดินอาหาร กระดูก ขอ และไต (อ้างอิง) มันถูกตั้งชื่อตามนักกุมารแพทย์ชาวเยอรมัน (ป๊าด โรคอินเตอร์) สองคนที่ศึกษามันไว้เมื่อช่วงปี 1860
ส่วนเรื่องอาการของโรค ที่ผมเจอกับตัวตอนเด็ก ๆ นั้น จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าขาผมจะมีผื่นขึ้น (หนา ๆ น่าเกลียดมาก) และปวดขาในช่วงที่อากาศเย็น (อาจจะมีอาการอื่นอีก แต่จำไม่ได้แล้ว) เรื่องปวดขานี่แย่มาก จำได้ติดตาว่ามีฉากหนึ่งในตอนเด็ก ที่เดินอยู่แล้วล้มไปเลย ลุกไม่ขึ้น ตอนนั้นอยู่ที่สนามกีฬาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ครู (ครูประภาส ปานงาม จำชื่อท่านได้แม่น) ต้องพาขี่หลังเดินกลับไปโรงเรียน คงจะเป็นตอนนั้นที่ทำให้ต้องไปตรวจหาว่าเป็นโรคอะไร
จำได้อีกว่าหมอที่อุตรดิตถ์ก็ไม่ทราบ (หรือไม่ก็ทราบแต่รักษาไม่ได้) ต้องไปหาหมอที่โรงพยาบาลที่พิษณุโลก (จำไม่ได้ว่าโรงพยาบาลพุทธชินราช หรือว่าโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร) แล้วความจำเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็หมดลงแค่นั้น
ตัดฉากมาที่ช่วงมัธยมปลาย ผมพบว่าผมไม่ได้เป็นโรคบ้านี่อยู่คนเดียว มีเพื่อนอีกคนจากแพร่ก็เป็นเหมือนกัน แต่รายนั้นเป็นหนักกว่ามาก ต้องตัดลำไส้ออกบางส่วน (แผลเป็นที่หน้าท้องเป็นทางเลย)
กลับมาปัจจุบัน ผมเพิ่งจะเชื่อมโยงได้ว่าอาการปวดขาที่เป็น ๆ หาย ๆ มาตลอดมันก็คงเป็นเพราะโรคนี้นี่เอง ทุกวันนี้เวลาอากาศเย็นมาก ๆ ผมก็ยังปวดขาอยู่ มันไม่ได้ปวดแบบอาการปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายหนัก ๆ แต่ปวดลึกลงไปเหมือนปวดที่กระดูก เวลาขี่จักรยานบางทีก็จะทรมานพอสมควรที่เข่า แต่ไม่แน่ใจว่าที่ปวดเข่านี่เป็นผลมาจากโรคนี้หรือเปล่า เพราะช่วงปีหนึ่งปีสองที่วิ่งออกกำลังมากหน่อยก็ไม่ได้ปวดอะไร
ก็แค่นึกขึ้นมาได้ เลยจดเอาไว้อ่านตอนโต เพราะคงลืมอีกแน่ ๆ
- Read more about Henoch-Schönlein purpura
- Log in to post comments
ตั๋ว
- Read more about ตั๋ว
- 3 comments
- Log in to post comments
Emergent Semantics
วันนี้ไปฟังบรรยายที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มา ในหัวข้อ "A Bag of Words Approach to Multimedia Semantics" โดย Prof. Dr. William I. Grosky จาก University of Michigan Dearborn
bag-of-words model นี่เป็นหลักการทางการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) คร่าว ๆ คือถือว่าเอกสารหนึ่ง ๆ เป็นเหมือนถุงใส่คำ คือไม่สนใจลำดับหรือไวยากรณ์ แล้วข้อมูลทางสถิติว่ามีคำไหนอยู่มากน้อยก็จะสามารถบอกอะไรได้บางอย่าง ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ก็คือระบบป้องกัน spam
ทีนี้ก็มีการเอา model นี้มาใช้ในสาขาอื่นบ้าง เช่นการรู้จำวัตถุจากภาพ โดยถือว่าภาพเป็นเอกสาร หรือถุงบรรจุคำ ส่วนคำที่ว่านี่ก็มาจากการแบ่งภาพออกเป็นส่วนย่อย ๆ เช่น แบ่งเป็นตาราง แล้วก็ดึงเอาคุณสมบัติบางอย่างในส่วนย่อยนั้นมา (ถือเป็นคำ) รวมในถุงใส่คำ แล้วก็ใช้วิธีทางสถิติวิเคราะห์
จริง ๆ แล้วในการบรรยายนี้มีอีกหลายเรื่องมาก แต่เขาพูดเร็วมาก ไม่ก็ผมช้าเอง จดทันบ้างไม่ทันบ้าง เอาอีกเรื่องที่ผมว่าน่าสนใจก็แล้วกัน คือ Emergent Semantics
ปกติแล้วเราสามารถดึง "ความหมาย" หรือ semantics ของข้อมูลใด ๆ ออกมาได้หลายวิธี ซึ่งข้อมูลสามารถมีได้หลายความหมายในเวลาเดียวกัน ขึ้นอยู่กับบริบทอื่น ๆ และผู้รับรู้ โดย ดร. คนนี้เสนอวิธีการดึงความหมายนั้นออกมาจากการ "ตามรอย" ของการรับรู้ข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่เชื่อมโยงกัน (interlinked) เช่น หน้าเว็บ
ตัวอย่างเช่น รูป X เป็นรูปป่าในหมอก ถ้าเอามาถามคนหลายคนว่ามันเป็นรูปอะไร คนนึงก็บอกว่ารูปป่า อีกคนก็อาจจะบอกว่ารูปหมอก แต่ถ้าเราเห็นว่า ก่อนจะมาถึงรูป X เนี่ย ไอ้หมอนี่ดูรูปป่ามาก่อนหลายรูป เราก็จะสามารถตีความได้ว่า รูป X ในตอนนี้ หมายความถึงป่า แสดงให้เห็นว่า "ความหมาย" ของข้อมูลมันผุดขึ้นมาในระหว่างการรับรู้ข้อมูลมาเรื่อย ๆ นั่นเอง
ใครเข้าไปอ่านได้ก็ลองโหลดมาอ่านดูนะ http://portal.acm.org/citation.cfm?id=637420 http://www.springerlink.com/content/plbac36pxnvx31cy/
- Read more about Emergent Semantics
- Log in to post comments
ฉันไม่เหมือนเดิม
นั่งอ่านบันทึก / นั่งนึกเรื่องราว / เรื่องดีเรื่องเศร้า / คละเคล้ากันไป / เกิดความอยากรู้ / นึกอยู่ในใจ / ตอนนี้ทำไม / ฉันไม่เหมือนเดิม...
- Read more about ฉันไม่เหมือนเดิม
- Log in to post comments
การบรรยายเรื่องพื้นที่ปลอดภัยในทฤษฎีการเมือง ภาพยนตร์ และวรรณกรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้ไปฟังการเสวนา (ซึ่งถูกประชาสัมพันธ์ว่าเป็นการบรรยาย) ที่ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน ในหัวข้อ "พื้นที่ปลอดภัยในทฤษฎีการเมือง ภาพยนตร์ และวรรณกรรม"
ผู้ร่วมวงเสวนาได้แก่
- ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กิตติพล สรัคคานนท์ นักเขียน
- จุฑิมาศ สุกใส นักวิจัยด้านสตรีศึกษา
- ปรีดีโดม พิพัฒน์ชูเกียรติ นักสังคมวิทยา
- ใครก็ไม่ทราบ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา คือไม่ทราบจริง ๆ ครับว่าชื่ออะไร ในข่าวประชาสัมพันธ์ตามเว็บก็ไม่มี ไม่ได้ถามด้วย แหะ ๆ คุยเพลิน
ปัญหาก็คือ ผู้ร่วมเสวนาบางท่านไม่ทราบว่าหัวข้อมันมีห้อยท้ายว่า "...ในทฤษฎีการเมือง ภาพยนตร์ และวรรณกรรม" ด้วย ทำให้หัวข้อการเสวนามันหดเหลือแค่ "พื้นที่ปลอดภัย"
ซึ่งก็ทำให้บรรยากาศมันงง ๆ ว่าจะคุยอะไรเรื่อง "พื้นที่ปลอดภัย" ซึ่งอาจจะเป็นความผิดของผมเองก็ได้ ที่ยังไม่ได้ไปดูนิทรรศการศิลปะซึ่งเป็นงานหลักในหัวข้อนี้ แต่ก็เอาเถอะ จะเล่าเท่าที่จับความได้
ในวงเสวนาก็เริ่มตั้งแต่นิยามว่า ความปลอดภัยคืออะไร "พื้นที่ปลอดภัย" คืออะไร มีจริงหรือเปล่า เป็นไปได้หรือเปล่า ทำอย่างไรให้มี แล้วก็ยกความคิดของนักคิดต่าง ๆ หลากหลายเชื้อชาติ (ซึ่งผมแม่งจำชื่อไม่ได้สักคน) มาอธิบาย สรุปใจความได้ดังนี้
ความปลอดภัยของคนในแต่ละยุคสมัย มีความหมายไม่เหมือนกัน ในยุคกลาง ความปลอดภัยของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความศรัทธาในศาสนา กล่าวคือ ยิ่งศรัทธามากก็จะยิ่งรู้สึกปลอดภัยมาก แต่เมื่อมนุษย์ฉลาดขึ้น พึ่งศาสนาน้อยลง ความปลอดภัยของมนุษย์จึงไปตกอยู่ที่กลไกต่าง ๆ รอบตัว เพื่อเตือนให้ระวังภัยที่อาจเกิดกับตน
แต่นั่นก็ทำให้เกิดคำถามว่า อ้าว งั้นไอ้กลไกที่มันถูกสร้างมาเพื่อความปลอดภัย มันก็ยิ่งเป็นการย้ำถึงความไม่ปลอดภัยของพื้นที่นั้น ๆ สิ
แล้วก็เลยไปถึงการนิยาม หรือการันตี ว่าพื้นที่ไหนปลอดภัย พื้นที่ไหนไม่ปลอดภัย ว่าจริง ๆ แล้วการนิยามอย่างนั้น เช่นการแบ่งเขตพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือการแบ่งพรมแดน มันยิ่งทำให้ส่วนที่เป็นรอยต่อ ที่นิยามไม่ได้นั้น มันอันตรายมากที่สุด คือไม่สามารถมีมาตรการรองรับอะไรได้
แล้วก็มีเรื่องทางจิตใจ คือ ความปลอดภัยนั้นขึ้นอยู่กับความคิด ถ้าเราศรัทธาในอะไรสักอย่าง เราก็จะรู้สึกปลอดภัย เพราะฉะนั้นการเข้าถึงพระเจ้า หรือศาสดาของศาสนาต่าง ๆ จึงเป็นความปลอดภัยอย่างแท้จริง (ซึ่งผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไร)
คือผมฟังไปฟังมา กลับมาอ่านที่จดมา ก็ยังสับสนอยู่ เอาประเด็นที่ผมว่ามันชัดเจนที่สุดก็แล้วกัน โดยอาจารย์ไชยันต์ (เขียนในสำนวนผมเอง ที่เห็นด้วยอย่างมาก)
ถามว่าเรามองถนนในกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่แบบไหน ปัจจุบันถนนมันก็เหมือนป่า คือใครแข็งแรงที่สุดรอด รถแข็งแรงกว่าคน คนก็ต้องหลบ ต้องหยุดให้รถไปก่อนจึงจะข้ามถนนได้ รถสิบล้อแข็งแรงกว่ารถเก๋ง รถเก๋งก็ต้องหลบให้ ทีนี้มันสมควรแล้วหรือ ถนนควรเป็นพื้นที่ป่า หรือพื้นที่ที่มีกฎระเบียบมากกว่ากัน
อย่างสะพานลอย ก็เป็นตัวอย่างของความทุเรศ เป็นความพ่ายแพ้ของรัฐต่อทุน คือ บังคับใช้กฎหมายให้รถมันชะลอเวลาเห็นคนข้ามถนนไม่ได้ (ในกฎหมายจริง ๆ ไม่ว่าคนจะข้ามถนนตรงไหน - ไม่จำเป็นต้องเป็นทางม้าลาย - รถต้องชะลอความเร็ว) แล้วก็ผลักภาระให้คนต้องเดินขึ้นสะพานลอย
แล้วคนที่ขับรถก็ไม่เคยจะนึกว่า สักวันตัวเอง หรือลูก หรือญาติพี่น้อง จะต้องมาเดินข้ามถนน แล้วไม่สามารถข้ามได้อย่างสบายใจ ต้องคอยระวังรถเฉี่ยวชน ถนนมันมีไว้ให้รถอย่างเดียวจริง ๆ เรอะ
เอาเป็นว่าเจอกันอีกวันเสาร์นี้ (6 มิถุนายน) เวลาบ่ายสองโมง ที่หอศิลป์กรุงเทพ ปทุมวัน ในการบรรยายเรื่อง "พื้นที่ปลอดภัยในชีวิตประจำวัน" ก็แล้วกัน
จบ
ระยะทาง
เวลาเดินถนนแล้วมองขึ้นไปบนยอดตึกสูง ๆ เวลาเดินทางไกลแล้วมองไปจนสุดถนนโล่ง ๆ เวลาดำน้ำดูปะการังแล้วมองไปตรงที่ที่ขุ่นมัวจนไม่เห็นพื้นทะเล
มันจะรู้สึกหวิว ๆ อยู่ในอก
ไม่รู้คนอื่นเป็นเหมือนกันไหม
- Read more about ระยะทาง
- Log in to post comments
BarCamp Bangkok 3
และแล้วบาร์แค้มป์ กรุงเทพฯ ครั้งที่ 3 ก็จบลงอย่างเงียบ ๆ
ผมขอสดุดีให้กับทีมงานทุกคนสำหรับความอุตสาหะในการจัดงานครั้งนี้ เพราะผมเห็นว่ามันประสบความสำเร็จมาก
บาร์แค้มป์ครั้งนี้มีสิ่งที่พิเศษกว่าครั้งก่อน ๆ มาก ไม่ว่าจะเป็น ดนตรีสด การประกวดมิสบาร์แค้มป์ หรือแม้แต่เชียร์ลีดเด้อร์! ทั้งนี้ก็เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการค้างคืนกันนั่นเอง
ผมเองก็เสนอหัวข้อไปตั้งแต่วันแรก แต่ไม่ได้รับการโหวต วันที่สองดูรอบเช้าก็ยังไม่ได้ เลยนิ่งนอนใจ เข้าฟังหัวข้อ ดรูปั้ลปะทะเวิร์ดเพรสปะทะจูมล่า ด้วยความง่วงงุน (คืนก่อนวันงาน นอน 5 ชั่วโมง คืนวันงานนอน 3 ชั่วโมง) เลยเผลอหลับ ตื่นขึ้นมาตอนเลิกพอดี (เพราะเสียงปรบมือ) ก็มั่ว ๆ เดินออกนอกห้องตาม ๆ เขาไป
เจอ @noomz ทักว่าต่อไปเป็นหัวข้อของผม แล้วตะกี้ในห้องเขาก็ถามว่าใครพูดหัวข้อต่อไป แต่ก็ไม่มีใครตอบ (ก็หลับอยู่นี่หว่า) เลยเกิดอาการรน วิ่งไปดูให้แน่ใจแล้ววิ่งกลับมา ยังดีที่มีคนเดินมาฟังบ้าง ก็เลยพูด ด้วยความรนและเพิ่งตื่นเลยพูดเร็วเกิน ต้องขออภัยคนที่ฟังด้วย ข้างล่างนี่เป็นสไล้ด์
- Read more about BarCamp Bangkok 3
- Log in to post comments