เซื่องเซื่อง
เซื่องเซื่อง ซึมซึม เศร้าเศร้า
เหงาเหงา หงอยหงอย หงอหงอ
จับจับ จดจด จ่อจ่อ
รอรอ รีรี รางราง
- Read more about เซื่องเซื่อง
- Log in to post comments
เซื่องเซื่อง ซึมซึม เศร้าเศร้า
เหงาเหงา หงอยหงอย หงอหงอ
จับจับ จดจด จ่อจ่อ
รอรอ รีรี รางราง
เอาซะหน่อย ตื่นมาเมื่อบ่าย โงหัวขึ้นมาบิดขี้เกียจ แล้วมันก็พรวดเข้ามาในหัว มาบันทึกไว้ก่อนจะหมดวัน
สักวาวันอาทิตย์บิดขี้เกียจ นั่งละเลียดรับลมชมหน้าหนาว พักภาระไว้ก่อนนอนเหยียดยาว นอนเหงาหง่าวเปล่าเปลี่ยวคนเดียวเอย
วันหยุดจงเจริญ~
ดู | ท้องฟ้ากว่าสองยามนึกความหลัง |
ฝน | ดาวครั้งก่อนเรายังเยาว์นัก |
ดาว | เพียงฉายประกายคำทำเสียหลัก |
ตก | หลุมรักร่วงลงด้วยหลงเริง |
Today I wanted to try the Android SDK on my Ubuntu Karmic Koala, so I followed the instructions in the following URL.
http://developer.android.com/sdk/index.html
I thought that an IDE would be useful so I installed Eclipse 3.5.1 and tried to install the Android Development Tools, or ADT. However, an error "org.eclipse.gef 0.0.0 required" (or something like that) appeared.
After googling for a while, I found a URL for the GEF SDK, which is Eclipse's Graphic Editing Framework, as the following URL.
http://download.eclipse.org/tools/gef/updates/releases/
So I added this update into Eclipse by
After installing GEF SDK, return to installation of ADT. You should be able to install it now.
อันนี้เป็นโครงงานเล็ก ๆ จากวิชา Computer Vision หัวข้อคือ ทำไงก็ได้ให้คอมมันรู้ได้ว่าภาพบาร์โค้ดมันสกปรก มีภาพตัวอย่างมาให้ด้วย
ช่วงนี้ผมกำลังสนใจเป็นพิเศษในการอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ (หลังจากนี้ขอเรียกย่อ ๆ ว่ามือถือ) ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข หรือการเมือง
เคยอ่านบทความ เขาบอกว่า คนในพื้นที่ที่พัฒนาแล้วจะรับรู้ข่าวสารผ่านสามจอ คือ คอมพิวเต้อร์ โทรทัศน์ และมือถือ พวกที่ห่างไกลออกมาหน่อยก็สองจอ (ตัดคอมพิวเต้อร์ออก) และที่ห่างไกลที่สุดก็เหลือจอเดียว คือมือถือ
ในประเทศกาน่า จำนวนคนใช้มือถือมีมากถึง 39 ใน 40 ของคนที่มีโทรศัพท์ทั้งหมด ในประเทศแทนซาเนีย ประชาชนร้อยละ 97 สามารถหามือถือใช้ได้ (อาจจะของเพื่อน ของญาติ) ความ "เข้าถึง" ของมือถือที่มากขนาดนี้ คิดว่าน่าจะเป็นเพราะการเดินสายโทรศัพท์บ้านนั้นต้นทุนสูงกว่ามาก และความ "เข้าถึง" ของมือถือนี้เอง (แม้ว่าจะเป็นรุ่นห่วย ๆ ก็ตาม) เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีประโยชน์มากในการรณรงค์ หรือทำกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ
หมัดเด็ดของมือถือก็คือ มันใช้แทนอินเทอร์เน็ตได้ในระดับหนึ่ง ยิ่งในพื้นที่ที่อินเทอร์เน็ตเข้าไม่ถึงแล้ว มือถือนี่โคตรสำคัญในการเป็นตัวกลางไปหาอินเทอร์เน็ต หรือไปหาโลกนั่นเอง
ผมเคยเขียนถึงเรื่องระบบสืบค้นข้อมูลผ่าน SMS ในประเทศอูกันด้า (หรือว่ามันอ่านว่า ยูกันด้า ฟะ) ไปแล้วหนหนึ่ง เพิ่งไปเจอ Question Box ที่เจ๋งพอกันอยู่ในประเทศอินเดีย หลักการก็ง่าย ๆ คือ เอามือถือใส่กล่องที่ติดแผงโซล่าร์เซลล์ ไปตั้งไว้ ที่กล่องก็จะมีปุ่มกดให้พูด เมื่อกดแล้วมันก็จะต่อสายไปหาเจ้าหน้าที่ ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แล้วอยากจะถามอะไรก็ถาม ความเท่มันอยู่ที่ว่า กล่องนี้ติดตั้งง่ายมาก ขอแค่มีแสงอาทิตย์ก็ไม่ต้องทำอะไรอีก แค่นี้ก็สามารถกระจายโอกาสในการ "เข้าถึงข้อมูล" ไปได้มาก (และแน่นอน กลุ่มที่ทำ Question Box นี้ก็ให้บริการถามตอบทาง SMS ด้วย)
ยุคนี้แล้วมือถือที่รับส่ง SMS ได้ก็น่าจะมีราคาถูกพอที่ใคร ๆ ก็ซื้อได้แล้ว นี่เป็นเรื่องที่ดีมากเพราะเรายังสามารถใช้ประโยชน์จาก SMS ได้เยอะ ข้อมูลมันก็จัดการง่าย เพราะเป็นแค่ข้อความ มีซอฟท์แวร์หลายตัวที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นระบบรวบรวม SMS คือนึกภาพว่าเราตั้งกลุ่มเฉพาะกิจขึ้นมา คนกลางมีแค่แล็พท็อพเครื่องนึงที่ติดตั้งซอฟท์แวร์นี้ และเชื่อมต่อกับมือถือเครื่องนึง คนที่เหลือที่มีมือถือก็สามารถส่ง SMS มาหาคนกลาง เพื่อรายงาน/เก็บข้อมูล/สำรวจอะไรบางอย่าง เช่น ติดตามการทุจริตในการเลือกตั้ง รายงานภัยพิบัติ อะไรพวกนี้ ข้อความทั้งหมดก็จะถูกเก็บลงแล็พท็อพเอาไว้วิเคราะห์ต่อไป หรือจะส่งต่อไปกระจายเก็บไว้หลาย ๆ ที่ หรือส่งต่อไปสู่อินเทอร์เน็ตก็ย่อมได้ ตัวอย่างของซอฟท์แวร์ประเภทนี้ก็คือ FrontlineSMS หรือ SlingshotSMS
ในประเทศปากีสถาน มือถือแทบทุกเครื่องสามารถรับคลื่นวิทยุได้ และคนก็นิยมฟังวิทยุ ทำให้การกระจายข่าวสารเกี่ยวกับเหตุรุนแรงเป็นไปได้โดยง่าย
นอกจากของ "โลวเทค" อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ของ "ไฮเทค" ใหม่ ๆ อย่างพวก บริการตามพื้นที่ (ติดตามจาก GPS) หรือ Augmented Reality (ลองดู Layar ได้) ก็ยิ่งช่วยเรื่องพวกนี้ได้อย่างพิสดารพันลึก
ถ้าสนใจเรื่องพรรค์นี้ ขอแนะนำให้อ่านเว็บเหล่านี้
หรือถ้าใครมีแหล่งอื่น ๆ ก็มาแบ่งกันอ่านนะครับ
นายพรานหนุ่มใหญ่ใจคะนองคนหนึ่ง แบกปืนไรเฟิ่ลตามยิงนกเป็ดน้ำแถวบ้านในเช้าวันอาทิตย์
เปรี้ยง! นกเป็ดน้ำเคราะห์ร้ายลอยละลิ่วลงจากท้องฟ้า ตกลงบนแปลงนาแห่งหนึ่ง
ขณะกำลังก้าวเข้าไปจะเก็บซาก สายตาของเขาก็เห็นชาวนาเจ้าของที่ กำลังก้มลงเก็บซากนกเป็ดน้ำเช่นกัน
"เฮ้ย นั่นมันของผม ผมยิงมันเอง"
"อ้าว แต่มันตกลงมาในที่ดินของผม มันก็ต้องเป็นของผมสิวะ"
ฯลฯ
เถียงกันไปเถียงกันมาทำท่าจะเป็นเรื่อง ชาวนาจึงเสนอความคิด
"มาตกลงกันอย่างนี้ดีกว่า ผมเตะไข่คุณ คุณเตะไข่ผม ใครอดทนไม่ร้องได้ก็เอาไปเลย"
"โอเค"
ว่าแล้วชาวนาก็เหวี่ยงเท้าซัดเข้าไปที่เป้ากางเกงของนายพรานอย่างแรง นายพรานกัดฟันแน่นพลางทรุดฮวบลงไปกองที่พื้น มือกุมเป้า บิดตัวกลิ้งเกลือกไปมา
ยี่สิบนาทีต่อมา นายพรานโซเซลุกขึ้นยืน น้ำตาไหลพรากพลางพูดว่า
"ถึงตากูล่ะมึง..."
"เอ้อ" ชาวนาเอ่ย
.
.
.
"เอาเป็ดไปเหอะ ผมยอมแพ้"
ผมเพิ่งเดินออกมาจากร้าน Rain Dogs เมื่อตะกี้ ในหัวยังเต็มไปด้วยบทสนทนาหลากหลาย ตั้งแต่เรื่องภาษา ละคร ภาคเหนือ เชื้อชาติ เลยเถิดไปถึงเรื่องรสนิยมทางเพศ ผี และกรรม!
ร้าน Rain Dogs ถูกนิยามไว้โดยนิตยสาร BK ว่าเป็น "ร้านสไตล์โบฮีเมี่ยน ตกแต่งอย่างอบอุ่น เปิดเพลงอินดี้ และไม่มีพวกแบกเป้จิตตกแบบที่ข้าวสาร" ผมก็เพิ่งมาเจอคำอธิบายนี้เมื่อกี้นี่แหละ ว่าแต่ไอ้ โบฮีเมี่ยน นี่มันเป็นยังไงฟะ (ส่วน "จิตตก" นั้นผมแปลจากต้นฉบับว่า downers ไม่รู้แปลถูกหรือเปล่า)
ถ้าให้ผมนิยาม ก็เป็นร้านที่บรรยากาศดีมาก สิ่งที่ทำให้มันน่าสนใจก็คือ มันตั้งอยู่ในที่ที่คงไม่มีใครคิดว่าจะมีมันตั้งอยู่ กล่าวคือ อยู่สุดซอยที่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินคลองเตยไปไม่มาก คือโผล่มาจากสถานี ก็เดินมุ่งไปหาทางด่วน ข้ามแยกไป เลี้ยวซ้าย เดินไปอย่างมีศรัทธา (เพราะบรรยากาศแม่งไม่ให้กับการมีร้านพรรค์นี้เลย มีแต่บ้านคนธรรมดา) ก็จะเจอร้านนี้ ตั้งอยู่ใต้ทางด่วน
ที่ถ่อมาถึงนี่ ก็เพราะได้รับคำชวนทาง facebook ว่าจะมีการฉายหนังเรื่อง Examined Life (ใช่แล้ว อ้างอิงจากคำกล่าวของโสเครตีส ที่ว่า The unexamined life is not worth living.) เป็นการรวมบทสัมภาษณ์นักปรัชญาอเมริกันร่วมสมัยหลายคน เกี่ยวกับเรื่องกว้าง ๆ คือ การใช้ชีวิต ซึ่งแต่ละคนก็พูดไปตามประเด็นที่ตนเองสนใจ ลองดูตัวอย่างได้
หลังจากหนังจบก็นั่งฟังเพลงคุยอะไรไปเรื่อยเปื่อย ด้วยความที่กลับหอไม่ได้ (ฮา) คือหอปิดเที่ยงคืน แล้วผมแม่งกลับเกินเวลาบ่อยไปหน่อย เขาบอกนิ่ม ๆ ว่า มีครั้งหน้าอีกก็เชิญออกไปได้เลยนะ (นิ่มตรงไหนวะ) ก็เลยนั่งไปเรื่อย ๆ ออกมาตอนตีสามกว่า ๆ มาลงเอยที่ Bug & Bee ร้านสุดฮิตที่สีลม
ตอนนี้กำลังรอฟ้าสว่าง และ BTS วิ่ง
I've found an incredible image processing library for JavaScript called "Pixastic". Of course I downloaded the code and tried it as a single HTML file in Firefox 3.5. Then, I just got the error NS_ERROR_DOM_SECURITY_ERR, which is an error thrown when you try to change some DOM information that is from another domain. So what's the problem while the image itself is exactly in the same place as the script?
Google just took me to http://www.nihilogic.dk, which is eventually a blog of the author of Pixastic. There are some comments in there mentioning my problem. The solution is that: you need to put the script and you "hello world" page for the script in a server. Therefore, Firefox won't complain about the security thing. I copied the codes to my localhost and it just works!
I would like to thank Jacob Seidelin for creating this great tool.
ผมเพิ่งไปดู The Inglourious Basterds มาเมื่อวันอาทิตย์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นตอนหนังจบก็คือ ตาแรนติโน่ ผู้กำกับและเขียนบท แม่งคิดได้ไงวะ ทั้งฉากโหด ๆ ในหนัง และบทเรื่องที่อลหม่านพินาศฉิบหายวายป่วงพลิกความคาดหมายแบบนั้น ช่วยไม่ได้จริง ๆ ที่จะสงสัยว่าคนที่คิดเรื่องพรรค์นี้ขึ้นมาได้นี่จะมีชีวิตประจำวันอย่างไร แน่นอนว่าถ้าคิดอย่างมีเหตุผลหน่อยมันก็โยงไม่ได้ตรง ๆ ขนาดนั้นว่าคนที่สร้างสรรค์ผลงานในอารมณ์หนึ่ง ๆ จะต้องเป็นคนที่จมอยู่กับอารมณ์นั้น ๆ หรือคุ้นเคยกับอารมณ์นั้น ๆ แต่มันก็น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องในทางรสนิยมบ้างล่ะน่า
ผมเป็นคนที่ชอบอ่านเรื่องสั้น หรือนวนิยายขนาดสั้น เพราะรู้สึกว่ามันจบในตอน ได้รู้บทสรุปอย่างรวดเร็ว (แต่ก็เป็นแฟนตัวยงของนิยายยาว ๆ อย่างชุด The Lord of the Rings นะ) เพิ่งซื้อหนังสือรวมเรื่องสั้นของโดนั่ลด์ บาร์เธลมี่ มาอ่าน แต่ละเรื่อง (ความยาวไม่กี่หน้า) ก็ค่อนข้างหลุดโลก ก็ชวนให้คิดว่าคนเขียนเขาคิดอะไรอยู่ถึงเขียนมันออกมาได้
คนที่ชอบอ่านเรื่องสั้น (จริง ๆ ไม่ต้องเรื่องสั้นหรอก แค่ชอบอ่าน) ก็คงอยากจะเขียนเรื่องของตัวเองบ้าง ผมเองก็ด้วย ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไม คงเป็นอารมณ์หนึ่งของสัตว์สังคมอย่างมนุษย์ที่ต้องการสื่อสารความคิดของตนเองกับคนอื่น ๆ ผ่านช่องทางที่ชอบ (แล้วก็เห็นคนรู้จักเขียน แล้วชอบ อยากเขียนบ้าง) แต่ปัญหาก็คือ ผมไม่แน่ใจนักว่าคนที่อ่าน (หรือถูกยัดเยียดให้อ่าน) จะโยงเรื่องสั้นที่เขียน กับตัวผมหรือเปล่า (แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งใจก็เถอะ) ทั้ง ๆ ที่มันอาจไม่ได้มาจากสิ่งที่คิดจริง ๆ แต่เป็นการพยายามคิด หรืออาจจะเป็นสิ่งที่ผมคิดจริง ๆ ก็ได้ พูดง่าย ๆ คือ ใจหนึ่งก็อยากเขียน อีกใจหนึ่งก็ไม่อยากให้คนอ่านโยงสิ่งที่เขียนกับตัวจริงของคนเขียน (ทั้ง ๆ ที่มันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะโยง)