google

"Since 07 March 2008 you have read a total of 128,844 items."

Google is shutting down Google Reader.

Google Reader has been the heart of my information consumption. It's not just a really fast feed aggregator. It allows you to dig through a blog's history conveniently. I'm quite disappointed to see it go.

I've now moved my feeds to Feedly. The process was smooth. Let's see how it will live up to the expectation.

Google Instant Keyword Blacklist

ไม่นานมานี้ Google เพิ่งเปิดตัวบริการเท่ ๆ อย่าง Google Instant ที่แสดงผลลัพธ์การค้นหาทันทีพร้อมกับการพิมพ์คำค้นของเรา

แต่จะเป็นยังไงถ้าเนื้อหา "ไม่พึงประสงค์" อาจโผล่ขึ้นมาขณะที่เราพิมพ์โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ Google เลยแก้ปัญหาด้วยการ "แบน" คำค้นบางอย่างมันซะเลย

นิตยสาร 2600: The Hacker Quarterly (ซึ่งมีที่มาของชื่อที่น่าสนใจ ไว้เขียนคราวหน้า) ได้เปิดให้คนทดลองแล้วส่งคำค้นที่ Google Instant ไม่ยอมแสดงผล แล้วรวบรวมไว้ให้ได้ลองดูกัน

ตัวอย่างนะ (ตรงที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่คือเมื่อกดถึงตัวนั้นแล้ว Google Instant จะหยุดแสดงผล)

  • booB (มันไม่พึงประสงค์ยังไงเนี่ย :P)
  • dick (หากพิมพ์ dick แล้วเว้นวรรคตามด้วยคำอื่น ส่วนมากจะโดนแบนหมด ตะกี้ลองดูเห็น dick cheney ไม่โดน แต่ dick armey โดน)

นอกจากนี้ ในหน้าเว็บเดียวกัน นิตยสาร 2600 ยังได้รวบรวมคำค้นที่ (ถ้าดูจากพวกที่โดนแบนแล้ว) น่าจะโดนแบนเช่นกัน แต่ไม่โดน ไว้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม คำค้นพวกนี้ยังใช้ได้ถ้าเรากดค้นหาตามปกติ ก็อาจจะโอเคถ้าคิดว่า Google Instant มันเร็วมาก กันไว้ก่อนดีกว่า แต่ก็สงสัยว่ามันก็มี SafeSearch อยู่อีกชั้นแล้วนิ

กูเกิ้ลในอูกันด้า

กรุณาอ่านข้อเขียนสั้น ๆ นี้ก่อนอ่านข้างล่าง

เรื่องของเรื่องก็คือ ตอนสรุปจากต้นฉบับที่ Media Futurist ผมงงมากกับประโยคนี้

"In many developing countries, the first browsing experiences will be via mobile applications or mobile browsers."

คือไม่เข้าใจความหมายว่า ในประเทศที่กำลังพัฒนา (ตอนนั้นนึกถึงประเทศไทยอยู่) ประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรก ๆ จะเป็นการใช้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เอ๊ะ ยังไงวะ (ผมเพิ่งมีโทรศัพท์ที่เล่นเน็ตได้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี่เอง) จนได้อ่านบทความนี้ก็เริ่มเข้าใจ Designing useful mobile services for Africa

เรื่องของเรื่องก็คือ กูเกิ้ลได้เปิดตัวระบบสืบค้นข้อมูลทาง SMS ในอูกันด้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ต้องค้นผ่าน SMS ก็เพราะว่าในบางพื้นที่เขาไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ แต่มีมือถือกัน ในบทความตะกี้ก็เล่าว่าเขาจะเริ่มสร้างระบบค้นหาข้อมูลอย่างไร ในที่ที่คนไม่เคยมีประสบการณ์กับการค้นหาข้อมูลออนไลน์มาก่อน กูเกิ้ลก็พาทีมงานไปกระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ เรียกให้ชาวบ้านมาเป็นอาสาสมัครทดสอบระบบ ก็ให้ใช้โทรศัพท์ของตัวเองส่ง SMS คำถามอะไรก็ได้ไปยังหมายเลขที่ให้ไว้ ปลายทางก็จะมีคนรวบรวมคำถามไว้ และส่งข้อความตอบกลับมาให้ แล้วทีมงานในสนามก็จะบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ใช้ ทั้งหมดนี้เลยออกมาเป็นระบบค้นข้อมูลทาง SMS ซึ่งมีประโยชน์มากโดยเฉพาะในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ

หล่อจริง ๆ กูเกิ้ล!

รู้จักกับ Google Wave

ชาวบ้านชาวช่องเขาพูดถึงกันมาได้สักพักแล้ว ผมเพิ่งได้มีโอกาสมาทำความรู้จักกับมันอย่างจริงจังก็วันนี้

คงไม่ต้องพูดถึงอีกแล้วว่า Google Wave มันเจ๋งอย่างไร หรือถ้าใครเพิ่งจะมารู้จักมันเหมือนผม ก็ลองอ่านข่าวที่ blognoneก่อนได้ แต่ความสนใจของผมต่อ Google Wave ไม่ได้มีแค่ในฐานะผู้ใช้ แต่รวมไปถึงการพัฒนาต่อ (ซึ่งมันก็คือการใช้ไม่ใช่หรือวะ)

Google Wave นั้นทำงานอยู่บน protocol - ระเบียบวิธีในการรับส่งข้อมูล - ที่ชื่อ Google Wave Federation Protocol ที่ Google พัฒนาต่อมาจาก XMPP ซึ่งจะโค้ด (ส่วนใหญ่) ก็จะถูกเปิดออกสู่สาธารณะ และใคร ๆ ก็จะสามารถเอา Wave Protocol ไปประยุกต์ใช้งานได้

แนะนำให้อ่าน Google Wave: A Complete Guide แต่ถ้าขี้เกียจ อ่านข้างล่างนี่ก็ได้

รู้จักกับศัพท์ในวงการ Google Wave ก่อน

  • Wave คือชุดของการสนทนา (รวมไปถึงเอกสารและสื่ออื่น ๆ ที่ฝังอยู่) เปรียบได้กับบันทึกการสนทนาของพวก Instant Messaging อย่าง Live Messenger หรือ Google Talk
  • Wavelet ก็เป็นชุดของการสนทนาเช่นกัน แต่เป็นการสนทนาย่อย ๆ ที่อาจจะแยกวงมาจาก Wave ใหญ่อีกทีหนึ่ง
  • Blip คือข้อความเดี่ยว ๆ ที่เป็นหน่วยย่อยใน Wavelet กับ Wave
  • Document คือสิ่งที่อยู่ใน Blip จะเป็นข้อความหรือไฟล์อะไรก็ว่าไป
  • Extension คือส่วนต่อขยายจาก Google Wave หรือโปรแกรมที่ทำงานกับ Wave แบ่งย่อยได้สองประเภทหลัก ๆ
    • Robot คือระบบจัดการข้อความอัตโนมัติ อาจจะตอบข้อความได้ หรือรับคำสั่งจากเราได้
    • Gadget คือโปรแกรมเล็ก ๆ ที่ทำงานบน Wave
  • Embedded Wave คือการเอา Wave ไปแปะที่อื่น

พอตามอ่านแล้วพบว่าเอกสารและบทความเกี่ยวกับ Google Wave และ protocol ของมัน มีเยอะมาก ทั้งในแง่โครงสร้าง กลไก ที่กำลังอ่านอยู่คือไอเดียของ Operational Transformation ที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของ Google Wave ที่ช่วยให้คนหลายคนสามารถแก้ไขเอกสารพร้อม ๆ กันได้ แล้วยังมีแบบร่างของตัว Wave Federation Protocol อีก ไว้เข้าใจแล้วจะมาเล่า

Subscribe to google