lecture

การบรรยายสาธารณะ "Thai-Style Democracy": The Royalist Struggle for Thailand's Politics

มีข่าวประชาสัมพันธ์มาจากเมลิ่งลิสท์แห่งหนึ่งจ้ะ

โครงการหลักสูตรรัฐศาสตรดุษฏีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายสาธารณะในหัวข้อ

"Thai-Style Democracy": The Royalist Struggle for Thailand's Politics

โดย Professor Kevin Hewison, Department of Asian Studies, University of North Carolina at Chapel Hill

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2552

เวลา 08.45-12.00 น. ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ ตึก 3 ชั้น 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Emergent Semantics

วันนี้ไปฟังบรรยายที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มา ในหัวข้อ "A Bag of Words Approach to Multimedia Semantics" โดย Prof. Dr. William I. Grosky จาก University of Michigan Dearborn

bag-of-words model นี่เป็นหลักการทางการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) คร่าว ๆ คือถือว่าเอกสารหนึ่ง ๆ เป็นเหมือนถุงใส่คำ คือไม่สนใจลำดับหรือไวยากรณ์ แล้วข้อมูลทางสถิติว่ามีคำไหนอยู่มากน้อยก็จะสามารถบอกอะไรได้บางอย่าง ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ก็คือระบบป้องกัน spam

ทีนี้ก็มีการเอา model นี้มาใช้ในสาขาอื่นบ้าง เช่นการรู้จำวัตถุจากภาพ โดยถือว่าภาพเป็นเอกสาร หรือถุงบรรจุคำ ส่วนคำที่ว่านี่ก็มาจากการแบ่งภาพออกเป็นส่วนย่อย ๆ เช่น แบ่งเป็นตาราง แล้วก็ดึงเอาคุณสมบัติบางอย่างในส่วนย่อยนั้นมา (ถือเป็นคำ) รวมในถุงใส่คำ แล้วก็ใช้วิธีทางสถิติวิเคราะห์

จริง ๆ แล้วในการบรรยายนี้มีอีกหลายเรื่องมาก แต่เขาพูดเร็วมาก ไม่ก็ผมช้าเอง จดทันบ้างไม่ทันบ้าง เอาอีกเรื่องที่ผมว่าน่าสนใจก็แล้วกัน คือ Emergent Semantics

ปกติแล้วเราสามารถดึง "ความหมาย" หรือ semantics ของข้อมูลใด ๆ ออกมาได้หลายวิธี ซึ่งข้อมูลสามารถมีได้หลายความหมายในเวลาเดียวกัน ขึ้นอยู่กับบริบทอื่น ๆ และผู้รับรู้ โดย ดร. คนนี้เสนอวิธีการดึงความหมายนั้นออกมาจากการ "ตามรอย" ของการรับรู้ข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่เชื่อมโยงกัน (interlinked) เช่น หน้าเว็บ

ตัวอย่างเช่น รูป X เป็นรูปป่าในหมอก ถ้าเอามาถามคนหลายคนว่ามันเป็นรูปอะไร คนนึงก็บอกว่ารูปป่า อีกคนก็อาจจะบอกว่ารูปหมอก แต่ถ้าเราเห็นว่า ก่อนจะมาถึงรูป X เนี่ย ไอ้หมอนี่ดูรูปป่ามาก่อนหลายรูป เราก็จะสามารถตีความได้ว่า รูป X ในตอนนี้ หมายความถึงป่า แสดงให้เห็นว่า "ความหมาย" ของข้อมูลมันผุดขึ้นมาในระหว่างการรับรู้ข้อมูลมาเรื่อย ๆ นั่นเอง

ใครเข้าไปอ่านได้ก็ลองโหลดมาอ่านดูนะ http://portal.acm.org/citation.cfm?id=637420 http://www.springerlink.com/content/plbac36pxnvx31cy/

ถ่ายทอดสดงาน "คุยไปกินไป" จากศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันนี้ (29 มีนาคม) มีงานเสวนา (ที่เอาขนมมากินได้!) ที่ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับเสรีภาพในโลกออนไลน์ (อ่านรายละเอียด) เวลาเที่ยงครึ่ง

แต่ถ้าคุณอยู่ต่างประเทศ ต่างจังหวัด หรืออยู่ที่ไกล ๆ อย่างรังสิต (ไกลจริง ๆ นะ พับผ่า) ไม่ต้องกังวล เพราะคุณสามารถชมการถ่ายทอดสดได้ ข้างล่างนี้เอง!

เชิญทรรศนา

Creative Thailand : สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ (2)

มาต่อกับ Creative Thailand : สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตอน Facing the Challenges : ทางรอด... ทางเลือก ตอนที่ 2

ตอนที่ 1 : อารัมภบท และมุมมองของ ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี

ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทแรก ๆ ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในสินค้า/บริการ

Creative Thailand : สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ (1)

ไปงานสัมมนาที่ TCDC มา น่าสนใจมาก เอามาบันทึกไว้

เช่นเคย มีผู้พูดหลายคน ขอแยกเป็นตอน ๆ ตอนนี้เอาช่วงเปิดงานกับผู้พูดคนแรกก่อน

งานสัมมนา Creative Thailand : สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตอน Facing the Challenges : ทางรอด... ทางเลือก 13 มีนาคม 2552 09.30 - 17.00 น. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC

ผู้ร่วมเสวนา

  • ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและจัดการองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
  • นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • ดร. ปรเมธี วิมลศิริ ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและจัดการองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

การออกแบบเพื่อสร้างความรู้สึกร่วมสูงสุด โดย นพดล ลิ้มวัฒนะกูร ผู้ออกแบบ "มิวเซียมสยาม" @ TCDC

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้ไปฟังบรรยายที่ TCDC - สำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ในหัวข้อ

การออกแบบเพื่อสร้างความรู้สึกร่วมสูงสุด (Design of Maximum Engagement : Exhibition That Speaks)

ผู้บรรยายคือคุณนพดล ลิ้มวัฒนะกูร ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ บริษัท designLAB MISC Co., Ltd. ผลงานเด่นของเขาคือ การออกแบบพิพิธภัณฑ์ "มิวเซียมสยาม" ที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญ (ไม่เชื่อค้นใน Google ดูดิ)

ผมเองก็ไม่ได้เรียนออกแบบหรอกครับ มิวเซียมสยามนี่ก็ไม่เคยไป (หาเพื่อนไปด้วยอยู่ สนใจไหม อิอิ) แต่เห็นว่าหัวข้อมันน่าสนใจดี (และฟรี) เผื่อจะช่วยเรื่องการออกแบบเวบได้บ้าง

ต่อไปนี้เป็นสรุปใจความสำคัญ (เท่าที่ผมเข้าใจ) คำเตือน : ยาวบรรลัยเลยครับ

Subscribe to lecture