เซื่องเซื่อง
เซื่องเซื่อง ซึมซึม เศร้าเศร้า
เหงาเหงา หงอยหงอย หงอหงอ
จับจับ จดจด จ่อจ่อ
รอรอ รีรี รางราง
- Read more about เซื่องเซื่อง
- Log in to post comments
เซื่องเซื่อง ซึมซึม เศร้าเศร้า
เหงาเหงา หงอยหงอย หงอหงอ
จับจับ จดจด จ่อจ่อ
รอรอ รีรี รางราง
เอาซะหน่อย ตื่นมาเมื่อบ่าย โงหัวขึ้นมาบิดขี้เกียจ แล้วมันก็พรวดเข้ามาในหัว มาบันทึกไว้ก่อนจะหมดวัน
สักวาวันอาทิตย์บิดขี้เกียจ นั่งละเลียดรับลมชมหน้าหนาว พักภาระไว้ก่อนนอนเหยียดยาว นอนเหงาหง่าวเปล่าเปลี่ยวคนเดียวเอย
วันหยุดจงเจริญ~
ดู | ท้องฟ้ากว่าสองยามนึกความหลัง |
ฝน | ดาวครั้งก่อนเรายังเยาว์นัก |
ดาว | เพียงฉายประกายคำทำเสียหลัก |
ตก | หลุมรักร่วงลงด้วยหลงเริง |
อยากให้เธอ มาเม้นท์ ใน Hi5 อยากให้เธอ กด Like ใน Facebook แลกเพลงฟัง ใน iMeem คงเป็นสุข นึกสนุก กดไป Digg ให้เธอ
ฉันจะมี Multiply ไว้ใส่รูป จะส่งจูบ จุ๊บจุ๊บไป ใน Twitter Share เรื่องหวาน ผ่าน Goo- gle Reader เข้า Flickr ดูหน้าเธอ ให้ชื่นใจ
จะบันทึก ความลุ่มหลง ลง Wordpress สร้าง MySpace แล้ว add เธอ เป็น friend ไว้ เปิด Latitude คอยดู เมื่ออยู่ไกล เขียนถึงใน Livejournal ทุกเช้าเย็น
แค่นั่งนึก นั่งฝัน กลางวันไป เพราะตัวเรา นั้นไซร้ เธอไม่เห็น เว็บที่เรา เล่าไว้ เธอไม่เล่น ซ้ำหลบเร้น หลีกเรา เศร้าสุดทรวง
นั่งอ่านบันทึก / นั่งนึกเรื่องราว / เรื่องดีเรื่องเศร้า / คละเคล้ากันไป / เกิดความอยากรู้ / นึกอยู่ในใจ / ตอนนี้ทำไม / ฉันไม่เหมือนเดิม...
ซาบซึ้งจึงซาบซ่าน ระริกร่านทั่วสรรพางค์ ตาถั่วสลัวราง ด้วยน้ำใสจากนัยน์ตา
มีอะไรในกลางคืน เราจึงตื่นไม่หลับใหล เวลาผ่านพ้นไป ชั่วอึดใจก็อรุณ
พักจากงานนิดนึง ตอนเด็ก ๆ ใครเคยเล่น "ลา มะลิลา" บ้าง สนุกมาก
กติกาก็คือ เริ่มต้นร้อง
ลา มะลิลา ขึ้นต้นเป็นมะลิซ้อน พอแตกใบอ่อนเป็นมะลิลา (ซ้ำ)
บางเวอร์ชั่นก็เอากติกาใส่เข้าไปเลย คือเริ่มต้นร้อง
ลา มะลิลา ขึ้นต้นอะไรก็ได้ แต่ให้ลงท้ายด้วยสระอา (ซ้ำ)
งั้นผมเริ่มเลยนะ
ลา มะลิลา ขึ้นต้นเป็นมะลิซ้อน พอแตกใบอ่อนเป็นมะลิลา (ซ้ำ)
ตีหนึ่งครึ่งแล้วหรือนี่ (ซ้ำ) นอนดึกทุกทีเพราะไม่ค่อยมีเวลา
ลา มะลิลา ขึ้นต้นเป็นมะลิซ้อน พอแตกใบอ่อนเป็นมะลิลา (ซ้ำ)
ช่วงนี้วันหยุดยาว (ซ้ำ) ไม่ต้องตื่นเช้านอนกลิ้งไปมา
เอ้า เชิญ!
ฆ่ามัน ฆ่ามัน ฆ่ามัน เพื่อนของฉัน ลั่นออกมา หน้าตาเฉย เอาให้พรุน กระสุนจริง ยิงมันเลย เอาสิเว้ย ล้อมปราบ ให้ราบไป
เธอก็คน เขาก็คน ฉันก็คน จะแห่งหน ชนชั้น เผ่าพันธุ์ไหน ทั้งชีวี มีดีชั่ว กลั้วกันไป หามีไม่ ที่ล้วน สมควรตาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 ออกท่องเมืองกรุง
ตอนเช้าไปฟังการอภิปรายทางวิชาการ "หลากมิติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้ฟังแค่ช่วงครึ่งเช้า คือเรื่องของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับมาตรา 112 ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ตกใจกับความเงียบของการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ บางครั้งเราไม่อาจทราบได้ว่ามีผู้ถูกจับกุมด้วยข้อหาทำนองนี้
ต่อมาก็ไปงานคอมมาร์ท ไม่ได้อะไรตามเคย อีหนูเครื่องที่ใช้พิมพ์อยู่นี่ก็ยังทำงานได้ดีอยู่น่ะ
เสร็จแล้วก็กลับมาที่หอศิลป์กรุงเทพฯ มางาน "การเมืองในมิติกวีนิพนธ์"
เป็นการอ่านบทกวี (ที่แต่งไว้แล้ว) สด ๆ ต่อหน้าผู้ชมโดยผู้แต่งเอง ไม่เคยดูอะไรประเภทนี้มาก่อน ประทับใจสุด ๆ ตลอดงาน
ที่ประทับใจมากที่สุดคงจะเป็น ไม้หนึ่ง ก. กุนที กับ กฤช เหลือลมัย อาจเป็นเพราะเป็นเรื่องใกล้ ๆ ตัวเกี่ยวกับบ้านเมือง บทกวีที่มีเนื้อหาเป็นนามธรรม (เช่น กลศาสตร์ควอนตัม โดยอุเทน มหามิตร) นั้นผมเข้าไม่ค่อยถึง (ไม่ได้ดูสด ออกมาคุยกับเพื่อนอยู่ แต่ตามอ่านทีหลัง)
ปิดท้ายงานด้วยปาฐกถาตามจาก ส. ศิวรักษ์ (ผมฟังได้ใจความว่า) เป็นเรื่องของระบบชนชั้นที่ผู้ปกครองมีความคุณธรรมที่มีข้อดีเหนือกว่าประชาธิปไตย โดยเอ่ยถึง เชอเกียม ตรุงปะ (Chögyam Trungpa) เป็นหลัก น่าสนใจมาก ติดอยู่ที่ผมยังไม่ค่อยจะเชื่อว่าจะมีศาสนาไหน แม้แต่พุทธ ที่จะเป็นความจริงแท้ แต่ความคิดของผมเองก็ยังไม่ค่อยเป็นรูปเป็นร่างเท่าไหร่ (ทั้งเรื่องศาสนาและระบอบการปกครอง) ก็เลยเน้นฟังไว้ก่อน
ง่วงแล้ว ตัดจบแค่นี้ก็แล้วกัน