religion

ทวิตธรรมนำทวิตเตอร์

ตัดตอนจากคำปรารภหนังสือ "ทวิตธรรมนำทวิตเตอร์" โดยทั่น ว. วชิรเมธี ตัวหนาตามโน้ตในเฟซบุคทั่น ว.

New Media หรือสื่อใหม่เกิดขึ้นทุกวัน
โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทุกวัน ทุกครึ่งวัน ทุกชั่วโมง หรือทุกนาที โลกเปลี่ยนเร็วเสียจนกระทั่งว่า แม้เราไม่อยาก เปลี่ยนแปลงตัวเองและวิถีชีวิตไปตามโลก แต่ทว่าก็จะถูกบีบให้ ต้องเปลี่ยนตามโดยอัตโนมัติเพราะเครื่องไม้เครื่องมือและ เทคโนโลยีต่างๆ ที่แวดล้อมเราอยู่ ถูกพัฒนาให้รุดไปข้างหน้า ตลอดเวลา
อยากจะตั้งเป็นข้อสังเกตว่า
โลกเปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่ทันที เมื่อสตีฟ จ๊อปส์ ออก นวัตกรรมใหม่มาให้ชาวโลกใช้
ทวิตเตอร์ เป็นสื่อใหม่ของวันนี้ ที่มีผู้ใช้แพร่หลายไปทั่วโลก ข้อดีของทวิตเตอร์ก็คือ ความสดใหม่ ความเร็ว ความง่าย แต่ข้อจำกัดก็คือ ใช้ส่งข้อความได้อย่างจำกัดเพียง ๑๔๐ ตัวอักษร

ผมคงจะเป็นคนของยุคเก่า ตั้งแต่เกิดมานี่ไม่เคยครอบครองผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลเลยสักชิ้น ไอแพดอะไรนี่ไม่เคยแตะ เคยแต่จับ ๆ ไอโฟน แมคบุค ของเพื่อนแบบนับนาทีได้

โลกยุคใหม่ที่ทั่น ว. ว่าไว้ คงจะเป็นโลกที่คนซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องละสองหมื่นกว่าบาทได้โดยไม่ต้องคิดอะไรมาก โลกยุคเก่าที่ผมติดอยู่นี่ (อยากเปลี่ยนยุค/ลุค นะ แต่ไม่มีเงิน) สตีฟ จ๊อบส์ (ชื่อเขาสะกดด้วยตัว b นะทั่น บ ใบไม้น่าจะใกล้เคียงกว่า) ไม่ได้ออกนวัตกรรมใหม่มาให้ใช้ แต่แม่ง เอ้ย เขาผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ราคาแพงหูฉี่มาขาย (เว้ย) ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเปลี่ยนอะไรไปบ้างไหมนอกจากราคาหุ้นของบริษัทตัวเอง

ว่าแต่จากเรื่อง New Media (ในบริบทแปลก ๆ) แล้วกระโดดมาแอปเปิ้ล แล้วกระโดดไปทวิตเตอร์ในไม่กี่ย่อหน้าเนี่ย ต้องกราบคารวะจริง ๆ

ก็ไปโหลดหนังสือมาชาบูกันได้ตามสะดวก

ภาษาอังกฤษวันละคำ: irony

ตัดตอนจากบทความ "เราได้อะไรจากเรื่อง 'ฟิล์ม-แอนนี่'" หนังสือพิมพ์มติชน 1 ตุลาคม 2553 ตัวหนาโดยผมเอง

ด้าน พระมหาวุฒิชัย หรือท่าน "ว. วชิรเมธี" ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย บอกว่าสังคมไทยควรเรียนในกรณีนี้ 4 เรื่อง

  1. การวางตนของบุคคลสาธารณะ ซึ่งถูกคาดหวัง "มาตรฐานทางจริยธรรม" ที่สูงกว่าบุคคลทั่วไป ดังนั้น จึงควรใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอ อย่าทำลายชื่อเสียงของตนด้วยการเขียนด้วยมือแล้วลบด้วยเท้า
  2. การมีความสัมพันธ์ ระหว่างชายหนุ่มหญิงสาวที่ดีนั้น ทุกความสัมพันธ์ต้องมาพร้อมกับ "ความรับผิดชอบเสมอ" เพราะหากไม่มีความรับผิดชอบ "สัมพันธภาพ" ก็จะกลายเป็น "สัมพันธพลาด" ที่นำความเสื่อมเสียมาสู่ผู้เกี่ยวข้องอย่างใหญ่หลวงเช่นที่ทุกฝ่ายกำลังเผชิญอยู่
  3. การให้อภัย เพราะแม้ทั้งสองฝ่ายจะทำในสิ่งซึ่งผิดพลาด แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เป็นปุถุชนทุกคนย่อมมีโอกาสผิดพลาดกันได้ การตกเป็นข่าวคราวนี้ทำให้ทุกคนเจ็บปวดมากพอแล้ว สังคมไทยควรหยุดซ้ำเติม แต่ควรให้อภัย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยวิจารณญาณที่รอบคอม ลึกซึ้งกว่านี้
  4. สำหรับคนที่ชอบ "แสดงความคิดเห็น" ในเรื่องของคนอื่นจนเป็นข่าวเกรียวกราว ก็ขอแนะนำว่า "ก่อนแสดงความคิดเห็นควรหาความรู้" เป็นพื้นฐานมาแล้วเป็นอย่างดี อย่ามีแต่ "ความเห็น" โดยไม่มี "ความรู้" เป็นองค์ประกอบ เพราะการแสดงความคิดเห็นอย่างมักง่าย ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเจ็บช้ำน้ำใจอย่างแสนสาหัส ทั้งยังทำให้เรื่องเล็ก ๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ หรือในบางกรณีก็ทำให้ความขัดแย้งลุกลามกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่ทำให้คนจำนวนมากต้องพลอยเดือดร้อน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: พระเจ้าตายแล้ว!

พระเจ้าตายแล้ว!

เซ็ง

เมื่อคืนเห็นใครไม่รู้อัปโหลดคลิปรายการชีพจรโลก ชุด Zen 2010 ตอนที่สัมภาษณ์พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ตอนที่พระทั่นบอกว่าเรอเน เดส์การ์ตส์ กล่าวว่า "พระเจ้าตายแล้ว" นั่นล่ะ ไอ้เราก็ดาวน์โหลดมา ตัดเหลือตอนประโยคนั้นพอดีจะได้ไม่ต้องเสียเวลาดูตอนต้น ๆ (เพราะการฆ่าเวลาบาปไม่น้อยกว่าการฆ่าคน) แล้วเอาใส่ยูทูบ ใส่บล็อก ถอดความเป็นข้อความ

"ประโยคนี้ไม่ใช่ของใหม่นะ เรอเน เดส์การ์ตส์ ก็เคยพูดไว้ ใช่มั้ย 'พระเจ้าตายแล้ว' [สุทธิชัย: ก็อด อิส เด๊ด!] ใช่มั้ยล่ะ เจริญพร"

เขียนอธิบาย

ไม่ใช่ครับ Friedich Nietzsche ต่างหาก ในหนังสือ Die fröhliche Wissenschaft

ใส่รูปประกอบด้วย

สุดท้ายนึกได้ว่า เอาวีดีโอเขามาตัดแล้วเผยแพร่งี้ น่าจะเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ เลยเลิก เซ็ง

รับธรรมผิวขาว

ใครที่อยากขาว ผิวดี ให้ปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ แล้วแผ่เมตตามากๆ รับรองขาวสวยได้โดยไม่ต้องพึ่งหมอ หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวใดๆ แน่นอน

ทายซิใครพูดไว้ ถ้าไม่ขาวจริงจะฟ้องสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ไหมเนี่ย

หืม อะไรนะ อ๋อ มันเป็นปริศนาธรรม! ที่ว่าขาว ผิวดี เป็นการเปรียบเปรยว่าดูดีจากภายใน! อย่างนี้นี่เอง! เรามันช่างโง่เขลาอะไรปานนี้หนอ พระทั่นแค่เอาเรื่องทางโลกย์ที่มีนัยสร้างปมด้อยเรื่องสีผิวที่แก้ไขได้ยากเพราะมีติดตัวมาแต่เกิดมานำความสนใจไปสู่ธรรมะอย่างแยบคายเท่านั้นเอง จริงจริ๊ง

ขอขอบคุณหัวเรื่องจาก @warong เนื้อหาในบล็อกนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับความคิดเห็นของคุณ @warong แต่อย่างใด

พระเจ้าปายาสิผู้ไม่เชื่อในโลกหน้า

คลิกโน่นนี่ในยูทูบแล้วก็หลงไปดู จอร์จ คาร์ลิน อยู่ตั้งนาน ก็ให้นึกสงสัยว่าไม่ยักกะเคยได้ยินใครตั้งข้อโต้แย้งกับศาสนาพุทธบ้าง (ที่ไม่ใช่การวิจารณ์พระ หรือสภาพศาสนาที่เราเรียกกันว่าศาสนาพุทธในปัจจุบัน)

ค้น ๆ ดูก็พบว่ามีเรื่องของคนที่ไม่เชื่อเรื่องกรรมในพระไตรปิฎกด้วย เขาคือพระเจ้าปายาสิ แห่งเสตัพยนคร เรื่องราวอยู่ในปายาสิราชัญญสูตร พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 2 พระไตรปิฎกเล่มที่ 10

ในเรื่องมีการโต้แย้งระหว่างพระเจ้าปายาสิกับพระกุมารกัสสปะ ซึ่งก็แน่นอนตามสูตรว่าสุดท้ายแล้วพระเจ้าปายาสิก็เกิดละทิ้ง "ทิฐิ" แล้วก็กลายเป็นสาวก

ที่ตลกก็คือตรงรายละเอียดในการโต้แย้งเรื่องโลกหน้ามีจริงหรือไม่ มันก็คล้าย ๆ กับเรื่องพระเจ้าในศาสนาคริสต์ คือกลายเป็นว่าเป็นภาระของฝ่ายที่ไม่เชื่อ ในที่นี้คือพระเจ้าปายาสิ ต้องพิสูจน์ว่าโลกหน้าไม่มีจริง ปัญหาก็คือมันไม่มีวิธีพิสูจน์ว่ามันไม่มีจริง

แล้วตรรกะก็ฝั่งพระกุมารกัสสปะก็มีแต่ยกเรื่องมาเปรียบเทียบ เช่น เราไม่รู้ว่าโลกหน้ามีจริงหรือไม่ก็เหมือนคนตาบอดมองไม่เห็นว่าสีต่าง ๆ มีจริงหรือไม่ หรือไม่ก็กำหนดกฎของฝั่งตัวเอง เช่น พระเจ้าปายาสิถามว่าทำไมไม่มีคนจากสวรรค์มาบอกบ้างเลยว่าทำดีแล้วได้ขึ้นสวรรค์ พระกุมารกัสสปะก็บอกว่าเวลาในสวรรค์ผ่านไปช้ากว่าบนโลกมาก

ลองอ่านเองได้ ทั้งแบบภาษาอังกฤษและภาษาไทย

Subscribe to religion