Creative Thailand : สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ (1)

ไปงานสัมมนาที่ TCDC มา น่าสนใจมาก เอามาบันทึกไว้

เช่นเคย มีผู้พูดหลายคน ขอแยกเป็นตอน ๆ ตอนนี้เอาช่วงเปิดงานกับผู้พูดคนแรกก่อน

งานสัมมนา Creative Thailand : สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตอน Facing the Challenges : ทางรอด... ทางเลือก 13 มีนาคม 2552 09.30 - 17.00 น. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC

ผู้ร่วมเสวนา

  • ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและจัดการองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
  • นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • ดร. ปรเมธี วิมลศิริ ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและจัดการองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ดำเนินการเสวนาโดย นายบัญชา ชุมชัยเวทย์

คำนำโดย อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

  • การผลิตสินค้าจำนวนมากด้วยเครื่องจักรและแรงงาน ทำให้สินค้านั้นมีลักษณะและคุณภาพเหมือน ๆ กัน จนไม่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ ของผู้บริโภคได้
  • ต้องเกิดเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ คือเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ (Creative Economy)

เปิดงานโดย ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

  • ทำไมต้องคุยกันเรื่อง Creative Economy?
  • เรากำลังสูญเสียความได้เปรียบในเรื่องการผลิตสินค้า (mass production) ให้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม หรือจีน
  • การหันไปสู่ Creative Economy ไม่ได้แปลว่าเราจะละทิ้ง mass production แต่มันคือทางเลือก
  • Creative Economy คือการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยความคิด
  • สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าตั้งแต่หัตถกรรม ไปจนถึงข้อมูลดิจิทัล
  • ปัจจุบันนี้ ประเทศที่ถูกจัดว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนามีเพียง 3 ประเทศ คือ ไทย จีน และเม็กซิโก
  • ทำให้เกิดคำถามว่า ขนาดรัฐบาลชุดที่ผ่าน ๆ มาไม่ได้ส่งเสริม Creative Economy อย่างจริงจัง ตัวเลขการส่งออกของอุตสาหกรรมประเภทนี้ยังมากถึงเพียงนี้ แล้วถ้ารัฐบาลส่งเสริมล่ะ จะเพิ่มขึ้นเท่าใด
  • รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้เริ่มทำการศึกษา และตั้งนโยบายหลัก ๆ ไว้ 5 ข้อ

    1. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
    2. สร้างกระบวนการผลักดันเข้าสู่การค้า (commercialize) หรือให้เกิดอุตสาหกรรม (industrialize) เพื่อพัฒนาจากเพียงความคิดสร้างสรรค์ ให้เกิดเป็น Creative Economy และสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐฯ และเอกชน (Public-Private Partnership)
    3. สนับสนุนแหล่งทุน เพิ่มทุนให้ธนาคาร SME (ธนาคารส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)
    4. ส่งเสริมการตลาด
    5. ส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
  • รัฐบาลได้จัดความสำคัญของการก้าวไปสู่ Creative Economy ไว้เป็นลำดับต้น ๆ

  • มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจแผนระยะกลางนั้น มีการสร้าง Creative Economy รวมอยู่ด้วย
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 จะมีเรื่อง Creative Economy อยู่เช่นกัน
  • การก้าวไปสู่ Creative Economy นั้นต้องการปัจจัยมากมาย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือจากเอกชน
  • อยากฝากให้ภาคเอกชนไม่ลืมพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ คือ การท่องเที่ยวและเกษตรกรรม
  • อยากฝากให้ช่วยสร้างอัตลักษณ์ (identity) ของสินค้า/บริการไทย

เริ่มการเสวนา

ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี

  • อยากให้คนฝั่งความคิดสร้างสรรค์ มาช่วยคนฝั่งเศรษฐกิจ
  • วิกฤติเศรษฐกิจโลก กับเศรษฐกิจไทย
    • ไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก
    • อัตราการขยายตัวกำลังลดลง จำเป็นต้องมีทางเลือกใหม่
    • จะพยุงสถานการณ์ได้อย่างไร จะเลี้ยวหนีออกมาได้อย่างไร
    • เมื่อ 25 ปีก่อน เราคิดว่าการส่งออกคือคำตอบ
    • ในช่วงนั้น ประเทศอื่นก็คิดว่าการส่งออกคือคำตอบเช่นกัน
    • หลังจากนั้น เราก็มองหาแหล่งทุนระหว่างประเทศ
    • จากนั้นโลกก็ถูกขับเคลื่อนด้วยการส่งออกและแหล่งทุนระหว่างประเทศ
    • เราได้ใช้แหล่งทุนระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก
    • และตอนนี้แหล่งทุนระหว่างประเทศกำลังทำร้ายเรา
    • American Standard กลายเป็นยี่ห้อส้วม
    • อะไรคือตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวใหม่
  • เศรษกิจบนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์
    • มันคือการจัดการความคิดสร้างสรรค์ให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
    • มีสินค้า/บริการมากมายที่ประกอบไปด้วยศิลป์และศาสตร์
    • หากมันมีศิลป์มากกว่าศาสตร์ มันอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Industry)
    • หากมันเพียงมีศิลป์ผสมอยู่ มันคือ Creative Content เป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้า/บริการ
    • การวัดความสำเร็จของสินค้า/บริการเหล่านี้คือสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights) เช่น สิทธิบัตร หรือเครื่องหมายการค้า
    • เราควรสนับสนุน Creative Economy เพราะมันคือการเพิ่มมูลค่าสินค้า
    • ประเทศของเรามีสินค้า/บริการที่เป็นศิลป์มากกว่าศาสตร์ เราเก่งเรื่องศิลป์
    • แม้แต่ในอาหาร เราก็มีความคิดสร้างสรรค์
    • Creative Economy จะนำไปสู่เศรษฐกิจแบบอื่น เช่น เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT-driven Economy) หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ (Creativity-driven Economy)
    • สินค้าของประเทศที่มี Creatie Economy เหมือนกัน จะแตกต่างกัน
    • ไม่จำเป็นต้องเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
    • ต้องมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์