Creative Thailand : สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ (4)

ตอนที่ 1 : อารัมภบท และมุมมองของ ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี
ตอนที่ 2 : มุมมองของศุภชัย เจียรวนนท์ แห่ง ทรู คอร์ปอเรชั่น
ตอนที่ 3 : มุมมองของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและจัดการองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) * ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์นั้น * การบังคับใช้กฎหมายเป็นเรื่องที่สำคัญ * เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือ การจดสิทธิบัตรนั้นยุ่งยาก ควรจะมีการปรับปรุงขั้นตอน * การจดสิทธิบัตรดูเป็นเรื่องไกลตัว ควรจะทำให้ง่ายขึ้น * รัฐควรเร่งดำเนินการหลาย ๆ อย่าง โดยเสนอให้ทำในรูปของแผนงาน (program) * เรามีรากฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่แล้ว ปัญหาคือเนื้อหา (content) * การรวบรวมองค์ความรู้ยังมีน้อย ต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทั่ลช่วยเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ * รัฐสามารถช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์ได้ ตัวอย่างเช่นเมืองเล็ก ๆ ที่สวยงามในยุโรปที่พวกศิลปิน นักคิด ชอบไปอาศัยอยู่ * ไม่จำเป็นต้องมีการสร้างหน่วยงานใหม่ในการพัฒนา Creative Economy การจัดการหน่วยงานเดิมก็เพียงพอ * เช่นการให้ธนาคารช่วยให้บริการประเมินคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญาได้ หรือการช่วยจัดอบรมเรื่องการตลาด * ควรมีการสร้าง Platform ที่จะช่วยรวม ศิลป์ + ศาสตร์ + ทุน * สรุปได้เป็น 4 แผนงานที่ทำได้ทันที - ความเข้มงวดในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา - Platform ของการจัดการความรู้ - การจัดการหรือปรับปรุงหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ - Platform ที่ช่วยรวม ศิลป์ + ศาสตร์ + ทุน