สัปดาห์ที่ผ่านมาเต็มไปด้วยเรื่องต่าง ๆ มากมาย และยังไม่จบ
ขอบล็อกสั้น ๆ เรื่องงาน "รี้ดแค้มป์" หรือ ReadCamp งานสไตล์บาร์แค้มป์ (BarCamp) ที่เรียกว่า "อสัมมนา" (Unconference) ง่าย ๆ คือทุกคนที่มางานต้อง "มีส่วนร่วม" โดยการเสนอหัวข้อที่จะพูด ถ้าอกหักไม่ได้พูดก็พยายามแสดงความคิดเห็น เป็นวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนกัน เนื่องจากขี้เกียจแทรกรูป กรุณาไปดูรูปถ่ายประกอบการอ่านได้ที่ http://picasaweb.google.com/tewzon/ReadcampPreparation และ http://picasaweb.google.com/tewzon/Readcamp
ผมไปฟังมาหลายหัวข้ออยู่ด้วยกัน หัวข้อแรกคือ "อ่าน 'ภาพคน' ในมุกตลกฝรั่ง" โดยคุณ "นักเรียนการแปล" พูดถึงเรื่องการสร้างเรื่องตลกจากการมองแบบเหมารวม (Stereotype) ของฝรั่ง เช่น สาวบลอนด์ต้องสวยแต่โง่ หรือคนบ้านนอกที่มักจะมีเพศสัมพันธ์กันเองในครอบครัว (Incest)
ต่อมาของคนกันเอง คือ @idiotao ในหัวข้อ "อ่านไม่ออก" พูดเรื่องการใช้ภาษาที่ทำให้เราอ่านไม่ออกหรือเข้าใจผิด เช่น พาสาวัยรุ่นงุงิ การใช้ค่ะ/คะ หรือการใช้ภาษาอังกฤษแบบผิดหลักไวยากรณ์
ต่อมาหัวข้อ "ลักษณะจำเพาะของมหากาพย์" โดย @markpeak ได้จำแนกคุณสมบัติที่มหากายพ์พึงมี และอธิบายว่าเรื่องไหนมีหรือไม่มีอย่างไร ผมไม่ได้จดมาละเอียด รอเจ้าตัวเขาอัพโหลดก่อน ติดตามจากบล็อกของเขาละกัน
แล้วก็พักกินข้าว ขึ้นมาพบว่าหัวข้อของผมเองถูกเลือกไปสองอันคือ "94 ปี หนังสือนักศึกษา" กับ "อ่านสติกเก้อร์ท้ายรถ" แต่ยังไม่ถึงเวลา ก็ปั่น ๆ สไล้ด์ เพราะทำไม่ทัน!
แต่ก่อนพูด ได้ฟังหัวข้อ "Read Me Read Sugree" โดย @sugree เป็นเรื่องชีวิตในอดีตของเขา ฟังแล้วได้ข้อคิดมากในเรื่องของการใช้ชีวิต การพัฒนาตนเอง อ่านสไล้ด์
มาถึงหัวข้อแรกที่ต้องพูด คือ "94 ปี หนังสือนักศึกษา" ขณะพูด รู้สึกได้เลยว่านี่แหละการโชว์เกรียนของแท้ เพราะว่าคนฟังมีทั้งคุณแป๊ด จากสำนักพิมพ์ระหว่างบรรทัด คุณชูวัส จากประชาไท คุณธนาพล จากฟ้าเดียวกัน และท่านอื่น ๆ อีกมาก โอ้ว แล้วข้อมูลผมก็โคตรจะไม่แน่น อ้างอิงจากหนังสือแค่เล่มสองเล่ม ประสบการณ์การทำหนังสือก็ไม่มี (แล้วมึงตั้งหัวข้อนี้ทำไม - ตั้งใจจะพูดเรื่องข้อมูลที่อ่านมานิดหน่อย แล้วคุยกับคนฟัง แต่นั่นล่ะ เตรียมตัวแย่มาก นำการคุยไม่ได้เลย) แต่ประทับใจเพราะได้คำแนะนำ (ติ) กับความคิดเห็นเพียบ
หัวข้อต่อมา (ติดกันเลย) สบาย ๆ หน่อยคือ "อ่านสติกเก้อร์ท้ายรถ" แต่ปัญหามีอยู่ว่าหัวข้อก่อนหน้าเลิกช้า คนเลยไปฟังห้องอื่นกันหมด ทำให้คนฟังห้องผมเป็นกลุ่มเดิม! จากที่ผมเสนอว่าสติกเก้อร์มันบอกสภาพสังคมในช่วงเวลาหนึ่งได้เลยเกิดการขยายต่อไปว่ามันคือการสื่อสารระหว่างชนชั้น ลองนึกดูว่าสิ่งที่แปะเพื่อแสดงออกผ่านรถยนต์เนี่ย ของชนชั้นล่าง (แบ่งตามรายได้) จะเข้าใจง่าย มีอารมณ์ขัน มีจิกกัดชนชั้นที่เหนือขึ้นไปบ้าง ซึ่งแน่นอน พวกคนขับรถเก๋งก็อ่านเข้าใจ เป็นการสื่อสารถึงทุกชนชั้น แต่ในขณะเดียวกัน ของติดรถของชนชั้นกลางขึ้นไป จะเป็นพวกสติกเก้อร์รักในหลวง ชื่อลูก หรือพวกที่ติดกระจกรถ (ซึ่งส่วนมากเป็นชื่อสถาบันการศึกษา และเป็นภาษาอังกฤษ) แสดงให้เห็นว่าพวกชนชั้นกลางขึ้นไปไม่ได้พยายามสื่อสารกับชนชั้นล่างลงมาเลย เพราะชื่อลูกก็รู้อยู่แต่ตัวเอง หรือการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งจำกัดการเข้าใจ
รอดชีวิตจากการพูดเองก็มาฟังห้องของคนกันเองอีกคน คือ @molek กับการ์ตูนสุดฮิต (ในหมู่นักศึกษาปริญญาโทขึ้นไป!) คือ Ph.D Comics ซึ่งผู้บรรยายบอกว่ามันตรงกับชีวิตเขาเยอะมาก (ซึ่งนั่นหมายความว่าชีวิตของเขาค่อนข้างน่าเศร้าทีเดียว)
พอถึงตรงนี้ก็เริ่มง่วง (ตอนนั้นนะ ไม่ใช่ตอนที่พิมพ์นี่) เลยแวบไปดูงาน Asiatopia ที่กำลังจัดแสดงอยู่ภายในหอศิลป์นี่เช่นกัน แต่ไว้จะมาเขียนแยกอีกเอนทรี่หนึ่งทีหลัง
กลับลงมาก็ใกล้เลิกงานพอดี ก็เก็บข้าวเก็บของ ขนข้าวขนของ แล้วก็อพยพกันไปกินข้าวที่สวนหลวง
จบ!
- Log in to post comments
Comments
โฮ่ แต่มีคนบอกว่า
โฮ่ แต่มีคนบอกว่า สองหัวข้อนี้ (๙๔ ปีหนังสือนักศึกษา กับสติ๊กเกอร์ท้ายรถ) เป็นเซสชั่นที่ดีมากๆ และน่าประทับใจมากๆ ของงานล่ะ!!!
- Log in to post comments
มาดูแล้วนะ ทิ้งไว้สักคำแล้วกั
มาดูแล้วนะ
ทิ้งไว้สักคำแล้วกัน
"ขับเร็วแดกม้า ขับช้าหมาไม่แดก"
- Log in to post comments
แวะมาเยี่ยมครับ
แวะมาเยี่ยมครับ ขอบคุณมากครับที่เขียนถึงใน blog นี้ เจอกันครั้งหน้านะครับ...
- Log in to post comments