เสวนา "เสรีภาพ ความคิด และสิทธิมนุษยชน" (3) - ศรีประภา เพชรมีศรี

ตอนที่ 1 : สมชาย ปรีชาศิลปกุล
ตอนที่ 2 : สุภิญญา กลางณรงค์

ศรีประภา เพชรมีศรี

  • สังคมไทยอยู่ในความกลัว ถามว่าใครที่กำลังรู้สึกขาดความมั่นคง
  • มีทั้งความไม่มั่นคงจริง ๆ และความไม่มั่นคงที่คิดไปเอง
  • ประชาชนก็มีความรู้สึกว่าไม่มั่นคงเช่นกัน เช่น ความรู้สึกของเสื้อเหลืองเมื่อเจอเสื้อแดง

    ความไม่มั่นคงกับความกลัว

  • เดส์การ์ต กล่าวว่า i think, therefore i am

  • ความมั่นคงคืออะไร
  • คำนิยามแบบภาครัฐคือ สภาวะปลอดจากการคุกคาม โดยเฉพาะ
  • การคุกคามภายนอก
    • ชายแดนกัมพูชา
    • โรฮิงยา
  • การคุกคามภายใน
    • จากการศึกษา เรามักมองไม่เห็นตัวตนของการคุกคามแบบนี้
    • คนในสังคมก็ถูกมองว่าเป็นศัตรูได้
    • หลังสงครามเย็นก็ยังมีบรรยากาศนี้อยู่ เช่น คนงานดูเป็นศัตรูของนายจ้าง
    • ไม่มีความชัดเจนของการคุกคามภายใน

เสรีภาพกับภาวะไม่มั่นคงของสถาบันต่าง ๆ

  • เมื่อรัฐเห็นว่าสังคมไม่ได้อยู่ในความมั่นคง รัฐทำอะไร
  • กรณีศึกษาของอเมริกา ช่วงสงครามเย็น ใช้ได้กับไทยในปัจจุบัน
  • เราเชื่อไหมว่าความมั่นคงกับเสรีภาพอยู่ด้วยกันได้ หรือเราเชื่อว่าไม่ได้ รัฐเชื่อว่าอยู่ด้วยกันไม่ได้
  • ผู้ทำการศึกษาได้ชี้ให้เห็นถึง 6 ประเด็นของการทำงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ในช่วงสงครามเย็น เมื่อรู้สึกถึงความไม่มั่นคง และยังใช้ได้กับประเทศไทยในปัจจุบัน
    • เมื่อรัฐรู้สึกไม่มั่นคง รัฐหรือสังคมจะขาดความเชื่อมั่นว่าประชาชนคิดพูดในสิ่งที่ดีได้ โดยเฉพาะประชาชนที่ขาดการศึกษา เช่นการเสนอการจำกัดการเลือกตั้ง
    • เกิดการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยรัฐ ตัวอย่างในไทยคือไม่มีใครได้เห็นเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมอาเซียน
    • รัฐมีการพยายามควบคุมความคิดของประชาชน เพราะการจัดการความแตกต่างทางความคิดนั้นยาก เครื่องมือหนึ่งคือการควบคุมสื่อ
    • รัฐจะมองหาความจงรักภักดีจากคนในสังคม มีการติดตามตรวจสอบ
    • มีการออกกฎหมายที่เข้มงวด กดขี่สิทธิเสรีภาพ ให้อำนาจกับฝ่ายบริหารอย่างกว้างขวาง มีการกำหนดโทษรุนแรง มีศาลพิเศษ มีบทบัญญัติที่ยกเว้นการรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่
    • มีความเชื่อว่าการดำรงอยู่ของรัฐหรือบางสถาบันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในสังคม
  • ในภาวะเช่นนี้ จำเลยคือเสรีภาพ
  • เสรีภาพกลายเป็นปัญหา
    • ความเห็นต่างไม่น่าชื่นชม
    • เสรีภาพท้าทายกฎเกณฑ์ในสังคม เช่นศาลพิพากษาในพระปรมาภิไธย จึงไม่ควรวิจารณ์
    • เสรีภาพในการเสนอความคิดบางอย่างเป็นสิ่งที่รัฐเกลียดชัง
    • ความจริงคือ ไม่มีความคิดใดที่ถูกต้องทั้งหมด
  • สังคมที่ไม่มีเสรีภาพไม่อาจเป็นประชาธิปไตยได้
  • รัฐบาลที่ยึดแต่ความมั่นคงของตนไม่อาจเป็นรัฐบาลได้

เสรีภาพในฐานะสิทธิมนุษยชน

  • จากคำกล่าวของแฟร้งคลิ่น ดี. รูสเว้ลท์ มนุษย์ต้องมี
    • เสรีภาพในการแสดงออก
    • เสรีภาพจากความกลัว
    • เสรีภาพจากความต้องการ
    • เสรีภาพในความเชื่อ
  • สังคมใด ๆ หากจำกัดสิทธิเสรีภาพ อย่าพูดว่าเป็นประชาธิปไตย

Comments