ตอนที่ 1 : อารัมภบท และมุมมองของ ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี
ตอนที่ 2 : มุมมองของศุภชัย เจียรวนนท์ แห่ง ทรู คอร์ปอเรชั่น
ดร. ปรเมธี วิมลศิริ ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ * แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ซึ่งจะมีการใช้งานจริง 2 ปี ถือเอาเรื่อง Creative Economy เป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติ * แต่กว่าจะไปถึงขั้นนั้นต้องผ่านขั้นตอนมากมาย ต้องได้รับการยอมรับจากหลายส่วน * มีการตั้งหัวข้อการลงทุนของรัฐบาลไว้บางส่วนว่าเป็นไปเพื่อ Creative Economy * ที่จริง มีการพูดถึง Creative Economy มาตั้งแต่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 แล้ว * ในตอนนั้น ทางแก้ปัญหาของประเทศไทยคือการลดต้นทุน แต่ตอนนี้เราต้องดูการเพิ่มมูลค่า (value creation) * นี่คือโจทย์ของสภาพัฒน์ฯ คือเราจะกลับไปใช้วิธีเดิมไม่ได้ * มันไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางที่จำเป็น * ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 9 และ 10 ก็เคยบรรจุเรื่องนี้ไว้ * จะเห็นได้จากสิ่งที่รัฐได้ทำไปแล้ว เช่น นโยบายการศึกษา การสร้างองค์กรอย่าง OKMD (องค์กรแม่ของ TCDC สยามมิวเซียม และอื่น ๆ) หรือการให้ทุนสนับสนุนเอกชนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างภาพยนตร์เรื่องก้านกล้วย * อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศไทย มีมูลค่าราว 10% - 11% ของ GDP ซึ่งใหญ่กว่าอุตสาหกรรมการก่อสร้าง นี่แปลว่ามีผู้รอการสนับสนุนจากรัฐบาลอีกมหาศาล * โจทย์ยาก ๆ สำหรับเราหลาย ๆ เรื่อง ได้แก่ - จะทำอย่างไรให้เห็นผลเป็นรูปธรรม : ต้องการความร่วมมือจากทุกส่วน - จะสร้างบรรยากาศของความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร รวมไปถึงการช่วยให้ขายความคิดสร้างสรรค์นั้นได้ : ให้ทุน SME พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน - จะสร้าง Creative City ได้อย่างไร ยกตัวอย่างในสหรัฐอเมริกามีการศึกษาว่าทำไมบางเมืองจึงผลิตคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้มาก ไทยก็มีเมืองเช่นนั้น เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต
- Log in to post comments